หนังสือเวียน-เรื่อง-การดำเนินการตามหลักเกณฑ์-วิธีการ-และเงื่อนไขการประเมินบุคคล.

หนังสือเวียน-เรื่อง-การดำเนินการตามหลักเกณฑ์-วิธีการ-และเงื่อนไขการประเมินบุคคล

หลักเกณฑ์การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษมาและเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่งระดับชำนาญการ

1.-หนังสือแจ้งจังหวัด-ว-246-ลว-3-ก.พ.-63

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้จัดทำ : นางสาวปภาวรินท์ จินโจ
ตรวจสอบ : นายปรานญ์ปรินทร์ กิจจาเวชชานนท์

(ข้อมูลแม่บทสถานที่ผลิตยา)
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ข้อมูลสรุปของงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม และข้อมูลที่
เกี่ยวข้องซึ่งทำให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการผลิต
สถาบันการแพทย์แผนไทยโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น
ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทยได้กรุณาให้งบประมาณแก่โรงพยาบาลมหาสารคาม มาดำเนินงาน
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย เป็นเงิน 500,000 บาท และตั้งชื่อให้ว่า “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์
แผนไทยกามินทร์อาศรม”

เปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 โดยการนำของผอ.ชาย ธีระสุต ภายใต้การดูแลของกลุ่ม
งานเวชกรรมสังคม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงานทั้งหมดในโรงพยาบาล
มหาสารคาม งานแพทย์แผนไทยจึงได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกให้สอดคล้องกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งนพ.ไพบูลย์ อัศวธนบดี
หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นผู้ดูแลและมุ่งมั่นพัฒนางานนี้เรื่อยมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ได้
เกิดงานเภสัชกรรมไทยขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมีเป้าหมายการผลิตยาใช้ในโรงพยาบาลและเครือข่าย
ตลอดจนโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานในระยะแรกเพื่อตอบสนองนโยบายคล้อย
ตามกระแสเท่านั้น แต่เมื่อได้ดำเนินการระยะหนึ่ง พบว่า การแพทย์แผนไทยเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
แขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่า และมากด้วยกลวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและสามารถใช้ศาสตร์นี้ตอบ
คำถามยอดฮิตของค าว่า “องค์รวม” ได้ดีที่สุด

โรงพยาบาลมหาสารคามมีจำนวนการผลิตยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลมีแนวคิดที่จะพัฒนาและให้ความสำคัญในการผลิตยาสมุนไพร โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนานโยบาย
คุณภาพให้โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลได้มาตรฐาน GMP WHO เพื่อเป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่
ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีกำลังการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ด้านปริมาณและรายการยาสมุนไพรที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของหน่วยบริการสุขภาพภายในจังหวัดมหาสารคามได้อย่างเพียงพอ และในอนาคต
โรงพยาบาลวางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตยาสมุนไพรเพื่อสนับสนุนไปยังจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงมุ่งเป็น
หนึ่งกำลังการผลิตที่สำคัญในศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของเขตบริการสุขภาพที่ 7

 

สารบัญ-smp-จัมปาศรี
Site-master-file-จัมปาศรี
ภาคผนวก-site-master-file-จัมปาศรี

การประเมินผลระบบการป้องกันอาการข้างเคียงจากยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

อดิศักดิ์ ถมอุดทา ภ.บ.
ปริญา ถมอุดทา ภ.บ. (บริบาลเภสัชกรรม) (เกียรตินิยมอันดับ 1), ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

767-Article-Text-760-1-10-20171130_allopurinol

เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

อดิศักดิ์ ถมอุดทา / ปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม ต าบลตลาด อ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000

 

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยถูกนำมาใช้อย่าง
แพร่หลายในการแพทย์พื้นบ้านในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เพื่อรักษาอาการอักเสบของโรคระบบ
กระดูกและกล้ามเนื้อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อมูลวิชาการในประเด็นการพัฒนา
สมุนไพรเถาเอ็นอ่อนแบบครบวงจร โดยทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลวิชาการในหัวข้อ พฤกษศาสตร์
พื้นบ้าน พฤกษเคมี การศึกษาทางด้านพรีคลินิกและการทดลองทางคลินิก ผลการศึกษาด้านพรีคลินิก
พบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการบิดตัวโดยใช้กรดอเซติกเหนี่ยวนำในหนูทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ นอกจากนั้นยังสามารถยับยั้งการอักเสบในโมเดลการใช้สารเอทิล ฟีนิลโพรพิโอเนตเหนี่ยวนำการ
เกิดหูอักเสบและการใช้สารคาราจีแนนเหนี่ยวนำการเกิดอุ้งเท้าอักเสบในหนูทดลอง การศึกษาการ
เพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกอ่อนในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนสามารถลดการปลดปล่อยสาร
ซัลเฟตไกลโคซามิโนไกลแคนและไฮยาโรแนนในอาหารเลี้ยงเชื้อและมีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์
เมทัลโลโปรติเอส-2 โดยไม่มีผลกระทบต่อการอยู่รอดของเซลล์เพาะเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษาทางคลินิกจากยาน้ำมันเถาเอ็นอ่อนในการรักษาข้อเข่าเสื่อมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่
มีภาวะโรคในระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง พบว่ามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจาก 1 เปอร์เซ็นต์ อินโดเมทา
ซิน สรุปได้ว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนมีฤทธิ์ลดปวด ต้านการอักเสบและคอนโดรโพรเทคทีฟ ยาน้ำมันเถา
เอ็นอ่อนมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างอินโดเมทาซิน โซลูชั่น ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม

Public_ThaoenOn30_01_64

การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

การศึกษาทางด้านพฤกษเคมีจากสารสกัดเหง้าว่านเอ็นเหลือง

เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา
เภสัชกรหญิงปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

บทนำและความสำคัญ
ว่านเอ็นเหลือง (Curcuma sp.) ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2556 ให้เป็น
ตัวยาตรงในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อมูลทางด้าน
พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnopharmacology) ใช้หัวว่านเป็นยารักษาโรคหลายขนาน แก้อัมพาต เหน็บ
ชา แก้ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ ในร่างกาย แก้มือตาย ตีนตาย รักษาโรคเหน็บชา โรคอันเกี่ยวกับเส้นเอ็นทั้ง
ปวง เส้นตรงที่ใดเคล็ด ช้ำบวม อัมพาต หรือไตพิการ เบาหวาน รักษาได้ระดับหนึ่ง โดยกินว่านนี้ด้วยวิธีต้ม
กินเป็นประจำใช้หัวว่านในปริมาณ 3 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 3 ส่วน แล้วเคี่ยวให้เหลือน้ำ 1 ส่วน กินก่อน
อาหาร 3 เวลา ข้อมูลทางลักษณะทางพฤกษศาสตร์หัวเป็นแง่งขนาดกลาง แตกเป็นแผง ทั้งสองด้านของ
ล าต้น และใต้ลำต้นแง่งแตกชิดติดกัน และเบียดกันแน่น เนื้อในของแง่งสีเหลือง มีกลิ่นหอมก้านใบสีเขียว
ด้านในเป็นร่องแคบและลึก ด้านนอกกลมนูน กาบใบสีเขียว โอบหุ้มกันเป็นลำ ใบ รูปรียาว ปลายใบ
แหลมเป็นติ่ง โคนใบทู่ เส้นกลางใบทางด้านบนเป็นร่องสีเขียวอ่อน ด้านล่างนูนเป็นสัน สีเขียวเช่นเดียวกับ
แผ่นใบ จากการที่ว่านเอ็นเหลืองได้ถูกประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขในปี 2556 ให้เป็นตัวยาตรงใน
ตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณกลุ่มบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องทำการศึกษาทางด้านพฤกษเคมี (phytochemistry) และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ
(Bioassays) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนทางด้านการประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดนี้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพรชนิดนี้เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างเศรษฐกิจฐานราก เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นไปตามเจต
จานงมุ่งหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้สมุนไพรไทยเป็นที่ นิยม ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น ชอบและใช้
การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

ReportVEL_01_04_61

การพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากสุมนไพรจากสารสกัดใบฝรั่งเพื่อใช้ในทางทันตกรรม

รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง
การพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากสุมนไพรจากสารสกัดใบฝรั่งเพื่อใช้ในทางทันตกรรม

ภก. อดิศักดิ์ ถมอุดทา
ภญ.ปริญา ถมอุดทา
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

ที่มาและความส าคัญ
โรคในช่องปากและฟันเป็นโรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ โรคแผลร้อนใน ซึ่งโรค
เหล่านี้มักมีอาการปวด บวม เลือดออก หรือมีอาการปากเหม็น โดยสาเหตุของการเกิดโรคในช่องปากส่วน
ใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ที่มาจากการไม่ดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และการรักษาโรค
เหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาได้ รวมไปถึงยังอาจเกิด
ผลข้างเคียงจากยาต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากเป็นหนึ่งในวิธีการ
ป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้

โดยผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดในช่องปาก เช่น ยาสีฟัน น้้ำยาบ้วนปาก เป็นอีก
ทางเลือกที่มักใช้สารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ได้ เช่น น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสม
ของ chlorhexidine ที่ทำให้สีของฟันเปลี่ยนแปลง และสามารถเกิดการดื้อได้

ดังนั้น ทางผู้วิจัยจึงได้ท าการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาดในช่องปากจากสมุนไพรขึ้นมา
เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี เนื่องจากสารที่มาจากธรรมชาตินั้นมีอัตราการดื้อยาได้ยากกว่าสารเคมี รวมไปถึงมี
ความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย [7] โดยมุ่งหวังว่าผลิตภัณฑ์น้ ายาบ้วนปากสมุนไพรที่ได้พัฒนาขึ้นจะมีฤทธิ์ยับยั้ง
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในช่องปากได้

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

รายงานน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดใบฝรั่ง-6-8-2019

การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน แบบเบ็ดเสร็จ

ชื่อผลงาน Best practice Service plan: การพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
แบบเบ็ดเสร็จ(ONE STOP SERVICES) เพื่อเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสาน โรงพยาบาลมหาสารคาม

เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

สืบเนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการบูรณาการการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ผสมผสานเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของประเทศ (SERVICE PLAN) เพื่อให้ประชาชนชาวไทย
เข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายดังกล่าวดังกล่าว จึงได้มีการ
ดำเนินการพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP
SERVICE) ข้ึนในปีงบประมาณ 2557 เพื่อเพิ่มศกัยภาพการเขา้ถึงบริการแพทยแ์ผนไทยและการแพทย์
ผสมผสานของประชาชนในพ้ืนที่รับผิดชอบ อันจะทำ ใหเกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวก
รวดเร็วได้รับความนิยมในการเข้าใช้บริการจากประชาชนเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานแบบเบ็ดเสร็จ (ONE
STOP SERVICE) ในการจัดคลินิกบริการครบวงจรที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD คู่ขนาน) ด้วยศาสตร์การแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานรวมถึงการจัดบริการคลินิกเฉพาะโรค ในโรค ไมเกรน ข้อเข่าเสื่อม อัม
พฤกษ์/อัมพาต และภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนต้น

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

บทคัดย่อserviceplanTTMmskh