ส่งทีม 7 นักรบชุดขาว รพ.มหาสารคาม ปฏิบัติภารกิจ ณ โรงพยาบาลบุษราคัม

ส่งทีม 7 นักรบชุดขาว รพ.มหาสารคาม ปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด – 19 ณ โรงพยาบาลบุษราคัม พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันทีเมื่อเข้าสู่พื้นที่
นายแพทย์หัสชา เนือยทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ คุณคนึงนิจ ศรีษะโคตร รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล พร้อมด้วยคณะผู้บริการและบุคลากร รพ.มหาสารคาม มอบขวัญกำลังใจแด่ 7 นักรบชุดขาว ซึ่งประกอบด้วย 1.นาย สถาพร ณ ราชสีมา นายแพทย์ ชำนาญการพิเศษ 2.นส. พิริยา ติยาภักดิ์ เภสัชกร ปฏิบัติการ 3.น.ส. นิศมา แสนศรี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ 4.นาง อรวรรณ บุรีนอก พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ 5.น.ส. มัลลิกา ศิริสุวรรณ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติการ 6.น.ส. ธนพร ดุลยเกียรติ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติการ 7.น.ส. วิธิตา ภูตเขต พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติการ
ซึ่งทั้งหมดจะเดินทางเพื่อสนับสนุนภารกิจดูแลรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ณ โรงพยาบาลบุษราคัม อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 – 10 มิถุนายน 2564 ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 7 ท่านได้สมัครใจอาสาลงพื้นที่ โดยมีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งฝึกการปฏิบัติตัวเมื่อเข้าพื้นที่ การทบทวนและฝึกทักษะการป้องกันการแพรกระจายเชื้อในการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม COVID-19 / การใส่-ถอดชุด PPE cover all และการฝึกปฏิบัติการใช้เครื่อง PAPR โดยทีมงาน IC และทีม EMS Refer และรับทราบแนวทางการปฏิบัติตัวของบุคลากร หลังสัมผัสผู้ป่วย COVID -19 ซึ่งพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนและร่วมแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทันทีเมื่อไปถึงโรงพยาบาลบุษราคัม และหลังจากปฏิบัติหน้าที่ตามเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนจะถูกกักตัว 14 วันในพื้นที่พิเศษ และตรวจหาเชื้อโควิด-19 จนมั่นใจว่าร่ายกายปลอดเชื้อ สมบูรณ์ แข็งแรง จึงจะสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติต่อไป
ทั้งนี้ โรงพยาบาลบุษราคัม จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข ใช้พื้นที่ภายในอาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกคนได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ป่วยสีเหลือง ที่แสดงอาการน้อยถึงปานกลาง ให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยลดอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิตได้

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)
รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม  และวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย และการบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนเขตพื้นที่ อ.เมืองมหาสารคาม ในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ โดยใช้พื้นที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 “คืนความเข้มแข็งให้ชาวมหาสารคาม”

นายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ของรัฐและเอกชน และ อสม. รวมกว่า 650 คน เดินทางมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หลังฉีดไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ 

  ที่อาคารจอดรถและบริการ ชั้น 8 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  พร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ของรัฐและเอกชน และ อสม. รวมกว่า 700 คน เดินทางมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 1 เพื่อป้องการการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน คืนความเข็งแข็งให้จังหวัดมหาสารคาม โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจะต้องพักเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด มึนงง หายใจติดขัด โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด 

  ในส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนวันนี้   เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลเข้าระบบของกระทรวงสาธารณสุข และนัดหมายเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม  ข้อมูลจะปรากฏในระบบแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” และสามารถนำไปใช้ประกอบการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ประกอบการตรวจสุขภาพอื่น ๆ ได้ 

        สำหรับ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งหมดนี้ ผ่านการตรวจรับโดยแพทย์ และดูแลระบบโซ่ความเย็นโดยทีมเภสัชกร การจัดเก็บใช้ระบบควบคุมความเย็น ของตู้แช่ยาเย็น ที่มีความปลอดภัยขั้นสูง คงอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส มีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด ผ่านระบบ SMS alert และ สัญญานเตือน พร้อมระบบไฟสำรองขนาดใหญ่ของ รพ.มหาสารคาม และหลังจากนี้ จ.มหาสารคาม จะเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป โดยตั้งเป้าในการฉีดวันละ 2,000 คน  ทั้งนี้ขอเชิญชวนประชาชนลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ที่แอปพลิเคชัน “หมอพร้อม”  หรือ ลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลที่ท่านมีสิทธิรักษา 

 

กฟผ. และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. ร่วมมอบเงินสนับสนุน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม

⚡️กฟผ. และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. ร่วมมอบเงินสนับสนุน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในสถานการณ์ COVID-19⚡️

——————————–

(19-5-2564) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม รับมอบเงินบริจาคจำนวน 200,000 บาท  จากนายอธิศักดิ์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ วิศวกรระดับ 11 ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) พร้อมผู้ปฏิบัติงาน อปอ. เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. มอบเงินจำนวน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อเป็นการสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

 

 

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามและวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย การบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ และการเตรียมการปิดโรงพยาบาลสนาม เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ลดลง
โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารจอดรถ 9 ชั้น โรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดกิจกรรม “วัคซีน…คืนความเข้มแข็งให้จังหวัดมหาสารคาม” ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ทั้งนี้ จ.มหาสารคาม จะดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้ประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564
💉ขอรับการฉีดวัคซีน โควิด-19
📍 ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป
โรงพยาบาลมหาสารคามขอเชิญประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตอำเภอเมืองมหาสารคามทุกสิทธิการรักษาร่วมทำแบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม
❗❗❗เงื่อนไขการขอรับวัคซีน❗❗❗
ต้องเป็นผู้ที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ก่อน 1 ตุลาคม 2563 และอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน
📌ผู้ที่ศึกษาหรือทำงานใน เขตอำเภอเมือง มหาสารคาม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 18 – 59 ปี และมีโรคประจำตัวใดๆใน 7 โรค
📌👦👧👨‍🚒👩‍🚒👮‍♀️👮👩‍🏫🧑‍🏫👨‍💻🧑‍💻
แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ผู้ที่ทำงาน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 18 -59 ปี รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชฎัฏมหาสารคาม
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจำตัวใดๆใน 7 โรค
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)
รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามและวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 และเตรียมส่งบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงพยาบาลสนาม กรุงเทพมหานคร โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้จัดทำ : นางสาวปภาวรินท์ จินโจ
ตรวจสอบ : นายปรานญ์ปรินทร์ กิจจาเวชชานนท์

(ข้อมูลแม่บทสถานที่ผลิตยา)
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ข้อมูลสรุปของงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม และข้อมูลที่
เกี่ยวข้องซึ่งทำให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการผลิต
สถาบันการแพทย์แผนไทยโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น
ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทยได้กรุณาให้งบประมาณแก่โรงพยาบาลมหาสารคาม มาดำเนินงาน
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย เป็นเงิน 500,000 บาท และตั้งชื่อให้ว่า “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์
แผนไทยกามินทร์อาศรม”

เปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 โดยการนำของผอ.ชาย ธีระสุต ภายใต้การดูแลของกลุ่ม
งานเวชกรรมสังคม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงานทั้งหมดในโรงพยาบาล
มหาสารคาม งานแพทย์แผนไทยจึงได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกให้สอดคล้องกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งนพ.ไพบูลย์ อัศวธนบดี
หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นผู้ดูแลและมุ่งมั่นพัฒนางานนี้เรื่อยมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ได้
เกิดงานเภสัชกรรมไทยขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมีเป้าหมายการผลิตยาใช้ในโรงพยาบาลและเครือข่าย
ตลอดจนโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานในระยะแรกเพื่อตอบสนองนโยบายคล้อย
ตามกระแสเท่านั้น แต่เมื่อได้ดำเนินการระยะหนึ่ง พบว่า การแพทย์แผนไทยเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
แขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่า และมากด้วยกลวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและสามารถใช้ศาสตร์นี้ตอบ
คำถามยอดฮิตของค าว่า “องค์รวม” ได้ดีที่สุด

โรงพยาบาลมหาสารคามมีจำนวนการผลิตยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลมีแนวคิดที่จะพัฒนาและให้ความสำคัญในการผลิตยาสมุนไพร โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนานโยบาย
คุณภาพให้โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลได้มาตรฐาน GMP WHO เพื่อเป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่
ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีกำลังการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ด้านปริมาณและรายการยาสมุนไพรที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของหน่วยบริการสุขภาพภายในจังหวัดมหาสารคามได้อย่างเพียงพอ และในอนาคต
โรงพยาบาลวางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตยาสมุนไพรเพื่อสนับสนุนไปยังจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงมุ่งเป็น
หนึ่งกำลังการผลิตที่สำคัญในศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของเขตบริการสุขภาพที่ 7

 

สารบัญ-smp-จัมปาศรี
Site-master-file-จัมปาศรี
ภาคผนวก-site-master-file-จัมปาศรี

วัคซีน…คืนความเข้มแข็งให้ จ.มหาสารคาม…พร้อมฉีดแล้ว

วัคซีนซินโนแวค ชนิดเชื้อตาย (COVID 19 vaccine vero cell ,inactivated) มาถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว ด้วยการขนส่งระบบประกันอุณหภูมิที่ควบคุมให้อยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสโดยได้จัดเก็บวัคซีนไว้ที่โรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 1800 โดส และจะมีการฉีดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.มหาสารคาม 150 คน อสม.200 คน บุคลากรการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 10 คน บุคลากรการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง 20 คน รวม 380 คน ในวันที่ 8 เมษายน 2564 นี้

ทั้งนี้วัคซีนทั้งหมดผ่านการตรวจรับโดยแพทย์ และดูแลระบบโซ่ความเย็นโดยทีมเภสัชกร การจัดเก็บใช้ระบบควบคุมความเย็น ของตู้แช่ยาเย็น ที่มีความปลอดภัยขั้นสูง คงอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส มีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด ผ่านระบบ SMS alert และ สัญญานเตือน พร้อมระบบไฟสำรองขนาดใหญ่ของ รพ.มหาสารคาม และหลังจากนี้ จ.มหาสารคาม จะได้รับวัคซีนล็อตใหญ่ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อฉีดให้บุคลากรการแพทย์ อสม. เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปต่อไป

ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลมาตรฐานความปลอดภัยสูง มูลค่า 3,500,000 บาท

ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลมาตรฐานความปลอดภัยสูง คันแรกของ จ.มหาสารคาม มูลค่า 3,500,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม
ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นสูงมาตรฐานความปลอดภัย 10G จำนวน 1 คัน มูลค่า 3,500,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะกรรมการบริหาร แพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับมอบ
สำหรับรถพยาบาลคันนี้ เป็นรถที่มีเครื่องช่วยชีวิตขั้นสูง คันแรกของ จ.มหาสารคาม มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด มีการติดตั้งอุปกรณ์ประจำรถทุกรายการที่ได้รับมาตรฐานและผ่านการทดสอบความปลอดภัย 10G เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาล มีเครื่องช่วยชีวิตขั้นสูง เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า และระบบ Telemedicine ที่แพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านกล้องวิดีโอ และ ตรวจสอบสัญญานชีพของผู้ป่วยในระหว่างเดินทาง เพิ่มปลอดภัยในการรับและส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนใช้การควบคุมขับขี่ด้วยระบบนำทาง GPS
ด้าน นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า นับเป็นโอกาสดีของชาวมหาสารคาม ที่จะได้รับการรับและส่งต่อถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยปลอดภัย ด้วยรถพยาบาลที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยโรงพยาบาลมหาสารคาม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานดูแลรักษาผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คณะผู้บริหาร และบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามทุกคน ขอขอบพระคุณท่านผู้บริจาค และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย บันดาลให้ท่าน และครอบครัวประสบสรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ประสงค์สิ่งใดจงสัมฤทธิ์ผล และมีความเจริญก้าวหน้า สมดังปรารถนาทุกประการ