รพ.มหาสารคาม และเครือข่ายสุขภาพออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

รพ.มหาสารคาม และเครือข่ายสุขภาพ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม
แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม และทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลชุมชน เภสัชกร นักสังคมสงเคราห์ ทีม MCATT นักกายภาพบำบัด นักวิชาการสาธารณสุข และจิตอาสาของโรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองมหาสารคาม ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บริการสุขภาพประชาชนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมมอบเวชภัณฑ์ สิ่งของบรรเทาทุกข์เบื้องต้นแก่พี่น้องประชาชนใน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโขงกุดหวาย บ้านท่าค้อ บ้านบุ่งคล้าท่างาม และบ้านกุดเวียน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.เกิ้ง  ต.ลาดพัฒนา และ ต.ท่าตูม อ.เมือง จ.มหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่

(11-10-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ และติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลมหาสารคาม
ทั้งนี้ที่ประชุมได้แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการฉีควัคซีนไฟเซอร์ เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 แก่กลุ่มนักเรียนและเยาวชน อายุ 12 – 18 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม ปัจจุบันมีความคืบหน้าถึงร้อยละ 85 ของจำนวนเป้าหมาย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้แจ้งเพื่อทราบว่า พื้นที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม และ “วัดพุทธวนาราม” หรือ วัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ถูกกำหนดเป็นพื้นที่ COVID Free Setting ซึ่งเป็นมาตรการองค์กรหรือสถานที่ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่โรค ให้เปิดกิจการ จัดกิจกรรมได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนมหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่
วัคซีน

รพ.มหาสารคาม ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียน 12 ปีขึ้นไปเขตอำเภอเมือง สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19

มหาสารคาม –ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียน 12 ปีขึ้นไปเขตอำเภอเมือง สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนและเยาวชนสกัดโควิด-19
ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรม ” KICK OFF สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” หวัง สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคามปลอดภัย ก่อนที่จะมีการเปิดเทอมใหม่ในช่วยเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ โดยเป็นการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้กับเด็กอายุ 12 -18 ปี อย่างเป็นทางการวันแรกพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม มี นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม นายกฤต สุวรรณพรหม ศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัดมหาสารคาม บุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วม
ด้าน นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และโรงพยาบาลมหาสารคาม ดำเนินการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันโควิด-19 แก่นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี ที่สมัครใจฉีดวัคซีนและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคามจำนวน 21,477 คน โดยในวันนี้เป็นนักเรียนกลุ่มแรกในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะนัดในช่วงเดือนตุลาคม 2564 แบ่งเป็น นักเรียนจากโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามและนักเรียนจากโรงเรียนสารคามพิทยาคม รวมจำนวน 900 คน ซึ่งในเบื้องต้นให้นักเรียนชายฉีดวัคซีน 1 เข็ม ขณะที่นักเรียนหญิงจะให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยเข็ม 1 และเข็ม 2 จะเว้นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ตามแนวทางการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข
ในส่วนขั้นตอนการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้นำวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุข จัดเก็บตามกระบวนการมาตรฐาน ควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 2 – 8 องศาเซลเซียส และนำมาฉีดให้กับนักเรียนโดยมีแพทย์ พยาบาล เภสัชกรดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ตลอดจนได้ควบคุมอุณหภูมิสถานที่ฉีดวัคซีนที่ 25 องศาเซลเซียสอีกด้วย นอกจากนี้ โรงพยาบาลมหาสารคามขอความร่วมมือให้ผู้ได้รับการฉีดวัคซีน โปรดลงข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ในแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” เพื่อเป็นฐานข้อมูลรายงานติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจจะเกิดกับผู้ที่รับวัคซีนไปแล้ว และผู้ได้รับการฉีดวัคซีน สามารถตรวจสอบข้อมูลหลักฐานการฉีดวัคซีนผ่าน “หมอพร้อม” ตลอดจนคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีนตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้อีกด้วย

โรงพยาบาลมหาสารคาม บริการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2564

โรงพยาบาลมหาสารคาม บริการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2564

ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โรงพยาบาลมหาสารคามเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล”ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กันยายน 2564 ในกลุ่มประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่ลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่วงหน้า และประชาชนทั่วไปที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ที่มีทะเบียนบ้านในเขต อ.เมืองมหาสารคาม

ทั้งนี้ บรรยากาศการให้บริการตลอดทั้งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ จุดฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไป และบริการฉีดวัคซีนบนรถ (drive thru) แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้นจำนวน 3,355 คน โดยมีนายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ และ แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชนและมอบกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

สำหรับ วันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาของการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 ล้านโดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชนทั่วประเทศ

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่
(20-9-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ และติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดบริการฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องลงจากรถ (Drive thru)

โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดบริการฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องลงจากรถ (Drive thru)

ให้คนไข้ที่ต้องใช้อ๊อกซิเจนตลอดเวลา และเป็นคนไข้ที่ใช้การดูแลแบบประคับประคอง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริการ

พระครูวินัยวรญาณ (หลวงพ่อมนูญชัย มนุญฺญพโล)   มอบเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนด้วยอัตราไหลสูง  มูลค่า 250,000 บาท แก่ โรงพยาบาลมหาสารคาม

(3-9-2564) นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมรับมอบเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนด้วยอัตราไหลสูง  รุ่น OmniOx HFT700  มูลค่า 250,000 บาท ด้วยเมตตาจากพระครูวินัยวรญาณ (หลวงพ่อมนูญชัย มนุญฺญพโล)  เจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย(ธ) เจ้าอาวาสวัดป่าศรัทธาธรรมวิทยา(ธ) ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  เนื่องในโอกาสมุทิตาสักการะ  อายุวัฒนมงคล ๖๘ ปี  เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโรงพยาบาลมหาสารคาม

คณะลูกหลานคุณแม่ฤดี คำพอ  มอบเงิน 200,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม

(1-9-2564)  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม รับมอบเงินบริจาค จำนวน 200,000 บาท จากคณะลูกหลานคุณแม่ฤดี คำพอ ซึ่งนำโดยคุณกันตา คำพอ  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลมหาสารคาม และแพทย์หญิงเพียงใจ ลวกุล  หัวหนัวกลุ่มงานจักษุ  โรงพยาบาลมหาสารคาม  ร่วมกันมอบเงิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณแม่ฤดี คำพอ และสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลมหาสารคาม

 

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เชิงรุกในชุมชน

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรมวัคซีนสู้โควิด บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1. ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  2.ผู้ที่ตั้งครรภ์  และ 3.กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ได้แก่  1.โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง  2.โรคหัวใจและหลอดเลือด  3.โรคไตเรื้อรัง  4.โรคหลอดเลือดสมอง  5.โรคมะเร็ง ที่อยู่ระหว่างการบำบัด  6.โรคเบาหวาน  7.โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร  โดยใช้สถานที่โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร  มีประชาชนให้ความสนใจมารับบริการจำนวนกว่า 169 ราย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ได้มีบริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน ให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุพื้นที่ชุมชนบูรพาและชุมชนบ้านส่องนางใยที่ไม่สามารถเดินทางมาได้จำนวน 22 ราย ซึ่งถือเป็นบริการเชิงรุก อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้ได้รับบริการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง เพื่อลดอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19

สำหรับการฉีดวัคซีนครั้งนี้ ได้ระดมบุคลากรจากโรงพยาบาลมหาสารคาม และเจ้าหน้าที่จาก 4 ศูนย์แพทย์ คือ ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองสามัคคี ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองบูรพา ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองบ้านส่องนางใย ปฏิบัติหน้าที่ฉีดวัคซีนและดูแลสุขภาพประชาชน อีกทั้งได้รับความร่วมมือจาก อสม. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.เมืองมหาสารคาม และจิตอาสา ร่วมบริการให้ข้อมูล อำนวยความสะดวกประชาชน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีนายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาสารคาม เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

คุณยายคำ ต้นสังวรณ์ พร้อมครอบครัว มอบเงิน 200,000 บาท

คุณยายคำ ต้นสังวรณ์ พร้อมครอบครัว มอบเงิน 200,000 บาท สมทบทุนสร้างห้องผ่าตัดความดันลบ ให้แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม

โดยมีนางคนึงนิจ ศรีษะโคตร  รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม  พร้อมด้วยแพทย์ พยาบาล ร่วมรับมอบในครั้งนี้