รพ.มหาสารคาม เปิดศูนย์การเรียนรู้ Learning &Training Center ส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์

 

(11-8-2564)  นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้ Learning &Training Center เพื่อส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ชั้น 12 อาคารอุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาสารคาม

ด้านนางคนึงนิจ ศรีษะโคตร  รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม  กล่าวรายงานว่า โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์โรงพยาบาลมหาสารคาม คือ บริการเป็นเลิศ เครือข่ายเข้มแข็ง มีพันธกิจ คือ ส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ องค์กรพยาบาลถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญในทีมสุขภาพในการดูแลผู้รับบริการ การที่จะไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการพัฒนาช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากรควบคู่กับการรับความรู้จากภายนอก เพื่อเอื้อให้เกิดโอกาสการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็งของบุคลากร

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์   กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้และฝึกทักษะ (Learning & Training Center) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ เพื่อใช้เป็นแหล่งให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วย อันจะเกิดประโยชน์แก่บุคลากร ผู้รับบริการ และองค์กรเป็นอย่างยิ่ง

รพ.มหาสารคาม  ฉีดวัคซีนไฟเซอร์  ให้หมอ-พยาบาลและ จนท.ด่านหน้า กระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อโควิด-19

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 ส.ค.2564 ที่ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 3 ให้กับบุคคลากรทางการแพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด่านหน้า ซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มเสี่ยงที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19  ให้ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม 2564 เป้าหมายจำนวน 1,470 ราย

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครั้งนี้ มุ่งเป้าให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ด่านหน้าที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบทุกคน โดยจะฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิในผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว หรือวัคซีนชนิดอื่นมาแล้ว 1 เข็ม หรือบุคลากรผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน นอกจากนี้ได้กำชับบุคลากรทุกคน ดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 โดยยึดหลัก D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัด เพื่อเสริมความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลประชาชน ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่อีกด้วย

สำหรับบรรยากาศการให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีบุคลากรทางการแพทย์ได้รับการนัดหมายผ่านระบบ SMS และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการสำรวจและรวบรวมรายชื่อให้ฉีดวัคซีน ทยอยเดินทางมาฉีดวัคซีนกันเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการลงทะเบียนซักประวัติ ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนจะถูกจัดให้อยู่ในจุดสังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที เมื่อครบเวลาจะได้รับการบันทึกข้อมูลยืนยันการฉีดวัคซีน ซึ่งจะปรากฏเป็นหลักฐานในแอปพลิเคชัน “   หมอพร้อม”ต่อไป

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามและบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

(9-8-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยทีมผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19   และคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่

รพ.มหาสารคาม ร่วมส่งบุคลากรสนับสนุนภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขในการค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่กรุงเทพฯ

(2-8-2564)  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมมอบช่อดอกไม้เป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรที่เข้าร่วมสนับสนุนภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข ในการค้นหาผู้ติดเชื้อโคโรนา 2019 ด้วยชุดตรวจ  Antigen Test Kit (ATK) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง  พร้อมทั้งสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ และส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการดูแล Home Isolation ต่อไป ซึ่งบุคลากรที่ร่วมสนับสนุนภารกิจรายชื่อดังต่อไปนี้

1.นายมานพ โพธิ์รัตน์    นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ

2.นายกฤษดา น้อยสุวรรณ   นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

3.นายศิวกร แสนยะมาตย์   นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

4.นางสวาณัฐจิรา อัปปะมะโน  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

และ 5.นายชัยพฤกษ์  ไชยรัตน์  พนักงานขับรถ

 

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ติดตามและบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

(27-7-2564) ที่ห้องประชุม จัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19  พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่

รพ.มหาสารคาม ต้อนรับแพทย์เฉพาะทางใหม่

(9-7-2564) ที่ห้องประชุมกัลปพฤกษ์ ชั้น 3 ศูนย์แพทยศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม

พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมมอบช่อดอกไม้ เพื่อแสดงการต้อนรับแพทย์เฉพาะทางใหม่ ในโอกาศที่มาร่วมปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.พญ.ไรวินท์  สุวรรณมาโจ      นายแพทย์ชำนาญการ     อายุรกรรม

2.นพ.ภาณุวัฒน์  นพินกุล        นายแพทย์ชำนาญการ     อายุรกรรม

3.พญ.ณัฐธิดา  ตันสังวรณ์       นายแพทย์ชำนาญการ     อายุรกรรม

4.นพ.ณัฐพงษ์  พุทธบุญกันต์    นายแพทย์ชำนาญการ     สูติ -นรีเวช

5.พญ.กนกพร  บุตรมารศรี       นายแพทย์ชำนาญการ     สูติ -นรีเวช

6.นพ.ธรรมรงค์  วิริยันต์เมฆ     นายแพทย์ชนาญการ      ศัลยกรรม

7.นพ.ปรมินทร์  ตุลยฉัตร        นายแพทย์ชำนาญการ     ออโธร์ปิดิกส์

8.นพ.ปวีณวัตร  จุลสม   นายแพทย์ชนาญการ      ออร์โธปิดิกส์

9.นพ.มณฑ์สิริ  จินาเพ็ญ นายแพทย์ชำนาญการ     พยาธิกายวิภาค

10.นพ.ยศวริศ  จรัณยานนท์    นายแพทย์ชำนาญการ     นิติเวชศาสตร์

11.นพ.วิรณัฎฐ์ สุทธิสา   นายแพทย์ชำนาญการ     จักษุวิทยา

12.นพ.ไชยยงค์  ลุนพิลา นายแพทย์ชำนาญการ     เวชศาสตร์ครอบครัว

13.นพ.เอกลักษณ์  สรวมศิริ     นายแพทย์ชำนาญการ     เวชศาสตร์ครอบครัว

 

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม

 

(5-7-2564) ที่ห้องประชุม EOC ชั้น 12 อาคารอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม  และเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

(28-6-2564) ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร รพ.มหาสารคาม

และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม  และเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม

 

รพ.มหาสารคาม ฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารจอดรถ 9 ชั้น โรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดกิจกรรม “วัคซีน…คืนความเข้มแข็งให้จังหวัดมหาสารคาม” ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จำนวน 745 คน
นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า จ.มหาสารคาม ได้รับจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดซิโนแวค (Sinovac) จากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,800 โดสแรก เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายเป็นแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข และ อสม.
สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจะต้องพักเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างเคียง เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด มึนงง หายใจติดขัด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด และในส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนวันนี้ จะได้รับการนัดมาฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 และเมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลเข้าระบบของกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ประกอบการตรวจสุขภาพอื่น ๆ ได้
สำหรับ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดซิโนแวค (Sinovac) ทั้งหมดนี้ ผ่านการตรวจรับโดยแพทย์ และดูแลระบบโซ่ความเย็นโดยทีมเภสัชกร การจัดเก็บใช้ระบบควบคุมความเย็น ของตู้แช่ยาเย็น ที่มีความปลอดภัยขั้นสูง คงอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส มีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด ผ่านระบบ SMS alert และ สัญญานเตือน พร้อมระบบไฟสำรองขนาดใหญ่ของ รพ.มหาสารคาม และหลังจากนี้ จ.มหาสารคาม จะได้รับวัคซีนล็อตใหญ่ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อฉีดให้บุคลากรการแพทย์ อสม. เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปต่อไป
สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 จ.มหาสารคาม ระลอกเมษายน ประจำวันที่ 22 เมษายน 2564 ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เมื่อเวลา 12.30 น. พบผู้ป่วยรายใหม่ 12 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยัน Covid-19 ระลอกเมษายน รวมแล้วจำนวน 109 ราย ในขณะยอดผู้ป่วยสะสมทั้งหมดสูงขึ้นไปถึง 131 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 2 ราย

รพ.มหาสารคาม จัดซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ ประจำปี 2564  “สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด”

 

(8-4-2564)นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรร่วมซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่ ประจำปี 2564  “สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด”  เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบริการประชาชน เมื่อเกิดสาธารณภัยแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสาร การบริหารจัดการ ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากหน่วยกู้ชีพ ไปส่งยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมในพื้นที่ที่กำหนด ตามความสามารถรองรับบริการของโรงพยาบาลเหล่านั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชนนั้น ๆ ขึ้น บุคลากรทั้งหมดจะได้มีความพร้อมและปฏิบัติงานได้จริงและช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุได้ทันท่วงที