การสื่อสารในงานการแพทย์

การสื่อสารในงานการแพทย์

ขอเชิญส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในงานการแพทย์

รุ่นที่ 1 วันที่ 20 มีนาคม 2562 (กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรทั่วไปและBack office) จำนวน 40 คน

ณ ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม

รุ่นที่ 2 วันที่ 21 มีนาคม 2562 (กลุ่มเป้าหมายคือแพทย์,ทันตแพทย์,เภสัชกรและสหวิชาชีพ) จำนวน 40 คน

ณ ห้องประชุมจัมปาศรี อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม

รุ่นที่ 3 วันที่ 22 มีนาคม 2562 (กลุ่มเป้าหมายคือพยาบาลวิชาชีพ) จำนวน 40 คน

ณ ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิทยากรโดย

  1. 1. Mr.David France
  2. 2. พญ.สุมณทิพย์ พจน์จลองศิลป์

***จึงขอความร่วมมือหน่วยงานต่างๆ ส่งรายชื่อเข้าร่วมการอบรมดังกล่าว ได้ที่งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล HRD ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2562 เบอร์โทรภายใน 385

การสื่อสารในงานการแพทย์

 

 

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

          รพ.มหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

(8-3-2562) นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีพิธีเปิด โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ณ วัดธัญญาวาส  ต.ตลาด  อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร รพ.หาสารคาม ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน หรือมีภาวะเริ่มอ้วนจำนวน 100 คน  และประชาชนจากชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจอีกกว่า 30 คน

สำหรับกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติจริงเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน การประยุกต์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดี ในส่วนของวิทยากรได้รับความอนุเคราะห์ จากจิตอาสาจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม และรพ.สต.เครือข่าย

นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผอ.รพ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ด้วยเขตสุขภาพที่ 7 ได้กำหนดแผนพัฒนาในการส่งเสริมป้องกันโรค ลดปัญหาโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ด้วยการนำหลักการสร้างสุขภาพดี 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และเอาพิษออก รวมทั้งการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการลด ละ กิเลส การสร้างคุณงามความดีทำจิตใจให้ผ่องใส การใช้แพทย์วิถีธรรม 9 ขั้นตอนหรือยา 9 เม็ด ประกอบกับจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2559-2561 พบว่า บุคลากร มีภาวะเสี่ยงต่อโรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับ คือ โคเลสเตอรอลสูง รอบเอวเกิน ระดับน้ำตาลในเลือดค่าปกติ และความดันโลหิตสูง   ส่วนในด้านพฤติกรรม พบว่ามีการออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ออกกำลังกายเลย

ดังนั้น รพ.มหาสารคาม โดยกลุ่มงานสุขศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดีในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัยและได้ผลเร็ว ซึ่งสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กดจุด การกายบริหารตนเอง หรือพิจารณาการเลือกรับประทานอาหารหรือนำสิ่งที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย  โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น พืชผักสวนครัว อาหารตามฤดูการในท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพตนเองต่อไป

 

แพทย์วิถีธรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

แพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี”

ขอเชิญร่วมอบรม อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี”  บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม   ปี ๒๕๖๒

ในวันศุกร์ที่ ๘  มีนาคม ๒๕๖๒   ณ ศาลาวัดธัญญาวาส ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม

 

กำหนดการ

๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.         –  ลงทะเบียน
–  ตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
–  ความรู้เรื่องโรคไต    โดยหน่วยงานไตเทียม
–  ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง   โดยกลุ่มงานศัลยกรรมทั่วไป
๐๙.๐๐ – ๐๙.๒๐ น.         –  พิธีเปิด โดย  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
–  กล่าวรายงาน โดย นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี
๐๙.๒๐ – ๐๙.๓๐ น.       –  ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
โดย นางอรณต  วัฒนะ  หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษา
๐๙.๓๐ –๑๐.๓๐ น.         –  หลักแพทย์วิถีธรรม ยา ๙ เม็ด และการใช้ศีลในการรักษาโรค
โดย  นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส  ผอ. รพ.สต.ท่าไคร้ จ.กาฬสินธุ์
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.        –  การสวนล้างลำไส้ใหญ่
โดย นายบวร ไชยวงษา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.โนนเพ็ก
–  การกัวซา  หรือการขูดพิษ
โดย  นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส  ผอ. รพ.สต.ท่าไคร้ จ.กาฬสินธุ์
๑๒.๐๐- ๑๓.๐๐ น.          –  รับประทานอาหารกลางวัน
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคคลต้นแบบ  ๔ ท่าน
๑๓.๐๐- ๑๖.๐๐ น.          –  เข้าประจำฐาน ๓  กลุ่ม

กลุ่มที่๑  น้ำสมุนไพรไทยปรับสมดุลร้อนเย็น ไร้พุง ไร้โรค

โดย นายบวร ไชยวงษา และนางกัญญาภัคร์ อรุณโน

กลุ่มที่ ๒  การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็น (รสจืด

ลดเครื่องปรุง หวาน มัน เค็ม)

โดย นางบุญทัน มะลิรส และนางสุภาพร ศรีหาเลิศ

กลุ่มที่ ๓  การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร

การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร

โดย นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส และนางธิวา พิมพ์บุตร

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.         –  นำเสนอกิจกรรมกลุ่ม

–  ปิดการอบรม

แพทย์วิถีธรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

 รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  ด้านแพทย์เผยปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน มาจากการใช้ชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังมากขึ้น

          นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.มหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด รณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  (Word Hearing Day ๒๐๑๙ ) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาการได้ยินและฟื้นฟูการได้ยินตั้งแต่ระยะแรกที่พบความผิดปกติ ณ บริเวณหน้าห้องตรวจ หู คอ จมูก  ชั้น ๒ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีกิจกรรม ประกอบไปด้วย การตรวจการได้ยิน  การตรวจหู การให้ความรู้  การถามตอบปัญหา และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการได้ยิน และโรคทางหู ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้สูงอายุ

นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในประเทศไทย ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าการออกบัตรประจำตัวคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย มีมากเป็นอันดับ  2  คิดเป็นร้อยละ 18.41 รองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 49.77   อายุที่มากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นจำนวนเฉพาะผู้ที่มารับการจดทะเบียนคนพิการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาการได้ยินลดลงในประชากรไทยมีประมาณ 2.7 ล้านคน ซึ่งหากไม่รีบป้องกันและแก้ไข ในอนาคตคนไทยทุกๆ 10 คน อาจจะพบผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน 1 คน

แพทย์หญิง ญาณพันธุ์ ถายา หัวหน้ากลุ่มงาน โสต ศอ เปิดเผยว่า สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินมีหลายประการ เช่น การอักเสบติดเชื้อของหูหรือเยื่อหุ้มสมอง  ศีรษะได้รับการกระทบกระแทกรุนแรง การสัมผัสเสียงดังๆ การเสื่อมสภาพตามอายุ หรือยาบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายหูชั้นใน เป็นต้น

เมื่อก่อนหูน้ำหนวกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีปัญหาสูญเสียการได้ยิน แต่ปัจจุบันเมื่อยาปฏิชีวนะดีขึ้นการเข้าถึงระบบสาธารณสุขดีขึ้นทำให้ปัญหาหูน้ำหนวกลดลง ประกอบกับพฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไป มีการใส่หูฟังมากขึ้น มีการแสดง Concert ต่างๆ การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีเสียงดัง ทำให้สาเหตุการสูญเสียการได้ยินเปลี่ยนไป นอกจากนี้คนเรามีอายุยืนมากขึ้นประสาทหูเสื่อมจากอายุก็พบมากขึ้นด้วย  แต่ปัจจุบันกลับพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียการได้ยินหรืออันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง และไม่เคยได้รับการตรวจการได้ยิน  ซึ่งถ้าประสาทหูเสื่อมแล้วจะไม่มีทางแก้ไขให้เป็นเหมือนเดิมได้  ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการสูญเสียการได้ยินและพยายามหาทางป้องกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ เช่น สถานบันเทิง ร้านอาหาร หรืองานคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังเป็นเวลานานและต่อเนื่อง  รวมถึงกลุ่มคนที่ใช้หูฟังเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ หรือวัยรุ่นที่เสียบหูฟังเพื่อฟังเพลงหรือเล่นเกมส์เสียงดังเป็นเวลานาน  เป็นต้น ดังนั้นเพื่อประชาชนหรือผู้ที่ทำงานในที่มีเสียงดังควรตรวจประเมินการได้ยินเป็นระยะ ๆ หรือพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติทางการได้ยิน

โรงพยาบาลมหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย

โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย และวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย และวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ณ หอประชุมศาลากลาง จ.มหาสารคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จากนั้นประธานกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมงาน ร่วมกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเยี่ยมชมนิทรรศการฯ ของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดมหาสารคาม“พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”

       สำหรับวันพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทยและวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2513 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงาน แนะแนวอาชีพ และแข่งขันฝีมือแห่งชาติครั้งที่ 1 ณ ลุมพินีสถาน และมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับความเป็นช่างของคนไทย ความตอนหนึ่งว่า “…ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของคนทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่างๆ ที่มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่ สนับสนุนจากทุกๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้า ยิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิงใช้สอยที่มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ  ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ  ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ  ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย

      การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องการทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้าใคร่ขอฝวากความคิดทั้งนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป….” ดังนั้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงแรงงานจึงเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ”

วันการได้ยินโลก World Hearing Day 2019

วันการได้ยินโลก World Hearing Day 2019

📢 โรงพยาบาลมหาสารคามขอเชิญร่วมกิจกรรม

👂” วันการได้ยินโลก World Hearing Day 2019 “👂

ภายใต้แนวคิด Check your hearing!

📆 ในวันจันทร์ที่ พบกัน 4 มีนาคม 2562

 เวลา 08.30 น. – 12.00 น.

📍 ณ บริเวณหน้าห้องตรวจ หู คอ จมูก ชั้น 2 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

พร้อมเข้ารับการตรวจหู ตรวจการได้ยิน กับแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก โดยมีมีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 

วันการได้ยินโลก World Hearing Day 2019

 

แพทย์หญิงอินทิรา อนันต์พินิจวัฒนา

แพทย์หญิงอินทิรา อนันต์พินิจวัฒนา “แพทย์ในดวงใจ ของจังหวัดมหาสารคาม”

ขอแสดงความยินดีกับ แพทย์หญิงอินทิรา อนันต์พินิจวัฒนา โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

ที่ได้รับการโหวตสูงสุดให้เป็น 
“แพทย์ในดวงใจ ของจังหวัดมหาสารคาม”

ในโครงการ “แพทย์ในดวงใจ 77 จังหวัด”
ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
เพื่อเชิดชูเกียรติ ส่งเสริมคุณธรรม และสร้างขวัญกำลังใจให้แพทย์

แพทย์หญิงอินทิรา อนันต์พินิจวัฒนา

ออกหน่วยแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

รพ.มหาสารคาม ออกหน่วย พอ.สว. บ้านหนองคู ต.หนองปลิง อ.เมืองมหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม  ร่วมออกหน่วยแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.)  ณ โรงเรียนบ้านหนองคู ต.หนองปลิง อ.เมืองมหาสารคาม

(20-2-2562) นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยพร้อมคณะแพทย์ พยาบาล และบุคลากร ร่วมออกหน่วยแพทย์อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ให้บริการประชาชนออกตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคทางทันตกรรม สังคมสงเคราะห์ สุขภาพจิต และบริการแพทย์แผนไทย เป็นต้น แก่พี่น้องประชาชน ณ โรงเรียนบ้านหนองคู ต.หนองปลิง อ.เมืองมหาสารคาม โดยมีนายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด

จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้เปิดโครงการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และหน่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จ.มหาสารคาม (จังหวัดเคลื่อนที่) rพร้อมมอบสิ่งของแก่ประชาชนและผู้สูงอายุ และทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความประพฤติดี

 

นายสิทธิ์พงษ์ พิมพ์ศักดิ์ บริจาคเงิน 10,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม

นายสิทธิ์พงษ์ พิมพ์ศักดิ์ บริจาคเงิน 10,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

(15-02-2562) นายสิทธิ์พงษ์ พิมพ์ศักดิ์ มีจิตอันเป็นกุศลบริจาคเงินจำนวน10,000 บาท เพื่อสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนางรัตติยา ทองสมบูรณ์ รองหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล เป็นผู้แทนรับมอบในครั้งนี้ ณ บริเวณชั้น1 อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคามร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชและแพทย์ศิริราชรุ่นที่ 99 จัดโครงการรณรงค์ส่องกล้องตรวจลำไส้ป้องกันโรคมะเร็ง

รพ.มหาสารคามร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชและแพทย์ศิริราชรุ่นที่ 99 จัดโครงการรณรงค์ส่องกล้องตรวจลำไส้ป้องกันโรคมะเร็ง

(1-2-2562) ที่ห้องประชุมจำปาศรี อาคารผู้ป่วยนอก นายแพทย์ สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณะสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช และแพทย์ศิริราชรุ่นที่ 99  ในโครงการรณรงค์ส่องกล้องตรวจลำไส้ป้องกันโรคมะเร็ง  ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หลัก ๆ 2 วิธีคือ

1.การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจหาเลือดออกแฝง มีข้อดีคือสะดวก แต่ความแม่นยำในการตรวจหารอยโรคน้อย ถึงแม้ผลจะตรวจเป็นปกติแต่ต้องมาตรวจซ้ำทุกปี แต่ถ้าผิดปกติก็ต้องตรวจต่อด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

  1. การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจดูว่าในลำไส้มีก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อหรือไม่ การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำในการตรวจหารอยโรคสูงมาก แต่ต้องใช้เวลาเตรียมตัว ถ้าตรวจแล้วผลเป็นปกติก็สามารถสบายใจและอีก 5 – 10 ปีข้างหน้าค่อยมาตรวจซ้ำการวินิจฉัยจะใช้การตรวจส่องกล้องเป็นหลัก ถ้าส่องกล้องไปแล้วพบรอยโรคที่ผิดปกติ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจและทำการวินิจฉัยเพื่อรักษาต่อไป