รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)
รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามสถานการณ์การพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม  และวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย และการบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนเขตพื้นที่ อ.เมืองมหาสารคาม ในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ โดยใช้พื้นที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 “คืนความเข้มแข็งให้ชาวมหาสารคาม”

นายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ของรัฐและเอกชน และ อสม. รวมกว่า 650 คน เดินทางมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19  โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย หลังฉีดไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ 

  ที่อาคารจอดรถและบริการ ชั้น 8 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  พร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลด่านหน้า บุคลากรทางการแพทย์ของรัฐและเอกชน และ อสม. รวมกว่า 700 คน เดินทางมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 1 เพื่อป้องการการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน คืนความเข็งแข็งให้จังหวัดมหาสารคาม โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจะต้องพักเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 30 นาที ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อป้องกันการเกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด มึนงง หายใจติดขัด โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด 

  ในส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนวันนี้   เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลเข้าระบบของกระทรวงสาธารณสุข และนัดหมายเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม  ข้อมูลจะปรากฏในระบบแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” และสามารถนำไปใช้ประกอบการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ หรือ ประกอบการตรวจสุขภาพอื่น ๆ ได้ 

        สำหรับ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งหมดนี้ ผ่านการตรวจรับโดยแพทย์ และดูแลระบบโซ่ความเย็นโดยทีมเภสัชกร การจัดเก็บใช้ระบบควบคุมความเย็น ของตู้แช่ยาเย็น ที่มีความปลอดภัยขั้นสูง คงอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส มีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด ผ่านระบบ SMS alert และ สัญญานเตือน พร้อมระบบไฟสำรองขนาดใหญ่ของ รพ.มหาสารคาม และหลังจากนี้ จ.มหาสารคาม จะเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป โดยตั้งเป้าในการฉีดวันละ 2,000 คน  ทั้งนี้ขอเชิญชวนประชาชนลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ที่แอปพลิเคชัน “หมอพร้อม”  หรือ ลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลที่ท่านมีสิทธิรักษา 

 

กฟผ. และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. ร่วมมอบเงินสนับสนุน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม

⚡️กฟผ. และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. ร่วมมอบเงินสนับสนุน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในสถานการณ์ COVID-19⚡️

——————————–

(19-5-2564) นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม รับมอบเงินบริจาคจำนวน 200,000 บาท  จากนายอธิศักดิ์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ วิศวกรระดับ 11 ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) พร้อมผู้ปฏิบัติงาน อปอ. เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่มบริษัทในเครือ กฟผ. มอบเงินจำนวน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อเป็นการสนับสนุนในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

 

 

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามและวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย การบริหารจัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ และการเตรียมการปิดโรงพยาบาลสนาม เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ลดลง
โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์
ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารจอดรถ 9 ชั้น โรงพยาบาลมหาสารคาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ โรงพยาบาลมหาสารคาม จัดกิจกรรม “วัคซีน…คืนความเข้มแข็งให้จังหวัดมหาสารคาม” ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ทั้งนี้ จ.มหาสารคาม จะดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ให้ประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564
💉ขอรับการฉีดวัคซีน โควิด-19
📍 ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป
โรงพยาบาลมหาสารคามขอเชิญประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเขตอำเภอเมืองมหาสารคามทุกสิทธิการรักษาร่วมทำแบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม
❗❗❗เงื่อนไขการขอรับวัคซีน❗❗❗
ต้องเป็นผู้ที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ก่อน 1 ตุลาคม 2563 และอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน
📌ผู้ที่ศึกษาหรือทำงานใน เขตอำเภอเมือง มหาสารคาม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 18 – 59 ปี และมีโรคประจำตัวใดๆใน 7 โรค
📌👦👧👨‍🚒👩‍🚒👮‍♀️👮👩‍🏫🧑‍🏫👨‍💻🧑‍💻
แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ผู้ที่ทำงาน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 18 -59 ปี รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชฎัฏมหาสารคาม
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีโรคประจำตัวใดๆใน 7 โรค
📌👦👧แบบสำรวจความต้องการเพื่อขอรับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชน ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)
รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อติดตามและวางแผนการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ภายในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค และโรงพยาบาลสนามริมห้วย การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโควิด-19 และเตรียมส่งบุคลากรทางการแพทย์ ปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงพยาบาลสนาม กรุงเทพมหานคร โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการ รพ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 รพ.มหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

งานผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้จัดทำ : นางสาวปภาวรินท์ จินโจ
ตรวจสอบ : นายปรานญ์ปรินทร์ กิจจาเวชชานนท์

(ข้อมูลแม่บทสถานที่ผลิตยา)
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ข้อมูลสรุปของงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม และข้อมูลที่
เกี่ยวข้องซึ่งทำให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการผลิต
สถาบันการแพทย์แผนไทยโดยแพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น
ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทยได้กรุณาให้งบประมาณแก่โรงพยาบาลมหาสารคาม มาดำเนินงาน
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย เป็นเงิน 500,000 บาท และตั้งชื่อให้ว่า “ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์
แผนไทยกามินทร์อาศรม”

เปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 โดยการนำของผอ.ชาย ธีระสุต ภายใต้การดูแลของกลุ่ม
งานเวชกรรมสังคม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงานทั้งหมดในโรงพยาบาล
มหาสารคาม งานแพทย์แผนไทยจึงได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกให้สอดคล้องกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งนพ.ไพบูลย์ อัศวธนบดี
หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฐมภูมิและทุติยภูมิเป็นผู้ดูแลและมุ่งมั่นพัฒนางานนี้เรื่อยมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ได้
เกิดงานเภสัชกรรมไทยขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมีเป้าหมายการผลิตยาใช้ในโรงพยาบาลและเครือข่าย
ตลอดจนโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานในระยะแรกเพื่อตอบสนองนโยบายคล้อย
ตามกระแสเท่านั้น แต่เมื่อได้ดำเนินการระยะหนึ่ง พบว่า การแพทย์แผนไทยเป็นวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
แขนงหนึ่งที่ทรงคุณค่า และมากด้วยกลวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยและสามารถใช้ศาสตร์นี้ตอบ
คำถามยอดฮิตของค าว่า “องค์รวม” ได้ดีที่สุด

โรงพยาบาลมหาสารคามมีจำนวนการผลิตยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลมีแนวคิดที่จะพัฒนาและให้ความสำคัญในการผลิตยาสมุนไพร โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนานโยบาย
คุณภาพให้โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลได้มาตรฐาน GMP WHO เพื่อเป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่
ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีกำลังการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ด้านปริมาณและรายการยาสมุนไพรที่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของหน่วยบริการสุขภาพภายในจังหวัดมหาสารคามได้อย่างเพียงพอ และในอนาคต
โรงพยาบาลวางแผนที่จะพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตยาสมุนไพรเพื่อสนับสนุนไปยังจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงมุ่งเป็น
หนึ่งกำลังการผลิตที่สำคัญในศูนย์ผลิตยาสมุนไพรของเขตบริการสุขภาพที่ 7

 

สารบัญ-smp-จัมปาศรี
Site-master-file-จัมปาศรี
ภาคผนวก-site-master-file-จัมปาศรี

วัคซีน…คืนความเข้มแข็งให้ จ.มหาสารคาม…พร้อมฉีดแล้ว

วัคซีนซินโนแวค ชนิดเชื้อตาย (COVID 19 vaccine vero cell ,inactivated) มาถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว ด้วยการขนส่งระบบประกันอุณหภูมิที่ควบคุมให้อยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียสโดยได้จัดเก็บวัคซีนไว้ที่โรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 1800 โดส และจะมีการฉีดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.มหาสารคาม 150 คน อสม.200 คน บุคลากรการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 10 คน บุคลากรการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง 20 คน รวม 380 คน ในวันที่ 8 เมษายน 2564 นี้

ทั้งนี้วัคซีนทั้งหมดผ่านการตรวจรับโดยแพทย์ และดูแลระบบโซ่ความเย็นโดยทีมเภสัชกร การจัดเก็บใช้ระบบควบคุมความเย็น ของตู้แช่ยาเย็น ที่มีความปลอดภัยขั้นสูง คงอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส มีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด ผ่านระบบ SMS alert และ สัญญานเตือน พร้อมระบบไฟสำรองขนาดใหญ่ของ รพ.มหาสารคาม และหลังจากนี้ จ.มหาสารคาม จะได้รับวัคซีนล็อตใหญ่ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อฉีดให้บุคลากรการแพทย์ อสม. เจ้าหน้าที่ด่านหน้า และประชาชนชาวมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนขอรับวัคซีน ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปต่อไป

ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลมาตรฐานความปลอดภัยสูง มูลค่า 3,500,000 บาท

ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลมาตรฐานความปลอดภัยสูง คันแรกของ จ.มหาสารคาม มูลค่า 3,500,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม
ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร บริจาครถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นสูงมาตรฐานความปลอดภัย 10G จำนวน 1 คัน มูลค่า 3,500,000 บาท แก่โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะกรรมการบริหาร แพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับมอบ
สำหรับรถพยาบาลคันนี้ เป็นรถที่มีเครื่องช่วยชีวิตขั้นสูง คันแรกของ จ.มหาสารคาม มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด มีการติดตั้งอุปกรณ์ประจำรถทุกรายการที่ได้รับมาตรฐานและผ่านการทดสอบความปลอดภัย 10G เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาล มีเครื่องช่วยชีวิตขั้นสูง เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า และระบบ Telemedicine ที่แพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านกล้องวิดีโอ และ ตรวจสอบสัญญานชีพของผู้ป่วยในระหว่างเดินทาง เพิ่มปลอดภัยในการรับและส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนใช้การควบคุมขับขี่ด้วยระบบนำทาง GPS
ด้าน นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า นับเป็นโอกาสดีของชาวมหาสารคาม ที่จะได้รับการรับและส่งต่อถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยปลอดภัย ด้วยรถพยาบาลที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยโรงพยาบาลมหาสารคาม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ครอบครัวเจริญศักดิ์ขจร ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานดูแลรักษาผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คณะผู้บริหาร และบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามทุกคน ขอขอบพระคุณท่านผู้บริจาค และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย บันดาลให้ท่าน และครอบครัวประสบสรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ประสงค์สิ่งใดจงสัมฤทธิ์ผล และมีความเจริญก้าวหน้า สมดังปรารถนาทุกประการ

กระทรวงสาธารณสุขมอบของขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2564 “สุขภาพดีวิถีใหม่ เด็กไทยสายตาดี” อำเภอเมืองมหาสารคาม

แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการด้านยริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมบุคลากรงานอนามัยโรงเรียน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และงานตรวจตาด้วยเครื่องมือพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษตา โรงพยาบาลมหาสารคามมอบแว่นสายตาแก่นักเรียนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีสายตาผิดปกติ

ซึ่งโครงการนี้ได้รณรงค์คัดกรองสายตาเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,517 คน ได้รับคัดกรองสายตา จำนวน 1,517 คน พบนักเรียนที่มีสายตาผิดปกติ จำนวน 23 คน ส่งต่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยจักแพทย์หรือทีมจักษุ โรงพยาบาลมหาสารคาม และได้รับแว่นสายตา จำนวน 14 คน คงเหลือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 คน ที่ยังไม่ได้รับ การตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์หรือทีมจักษุ และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2564

สำหรับในปี 2564 นี้ กระทรวงสาธารณสุขมุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบบูรณาการตามแนว วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในโครงการเด็กไทยสายตาดี โดยรับการสนับสนุนแว่นสายตาเด็กจากห้างแว่นท็อปเจริญ จำนวน 10,000 อัน ด้วยการประสานความร่วมมือจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และมอบหมายให้โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ทำหน้าที่ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องในการสั่งตัดแว่นสายตาในฐานะเป็น Training Center การฝึกอบรมการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและการวัดแว่นสายตาในเด็ก ควบคู่กับการดำเนินการคัดกรองสายตาและมอบแว่นสายตาให้กับนักเรียนในจังหวัดเป้าหมายนำร่องเขตสุขภาพละ 1 จังหวัด