การวิจัยและพัฒนาตำรับอิมัลชันเจลจากสารสกัดพริกและไพล

การวิจัยและพัฒนาตำรับอิมัลชันเจลจากสารสกัดพริกและไพล

ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

บทนำ

อิมัลชันเจลเป็นรูปแบบยากึ่งแข็งสำหรับใช้เฉพาะที่ผิวหนัง ประกอบด้วยครีมหรืออิมัลชันกระจายตัว อยู่ในเจลชนิดชอบน้ำ มีลักษณะกึ่งแข็ง โปร่งแสง และโปร่งใส ตำรับอิมัลชันเจลมีความคงตัวดีกว่ายาครีม เพราะมีเจลเป็นส่วนผสมช่วยเพิ่มความคงตัว ยาเจลพริก เป็นยาที่มีสารสกัดจากผลพริกแห้ง ( Capsicum annuum L., Capsicum frutescens L.) โดยควบคุมความแรงของสาร capsaicin ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ร้อยละ 0.025 โดยน้ าหนัก ( w/w) และยาครีมไพล เป็นยาที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าไพล (Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.) ร้อยละ 14 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ( v/w) ทั้ง 2 ตำรับ จัดเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติสมุนไพร สำหรับใช้ภายนอกสำหรับรักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก

 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตำรับยาในรูปแบบอิมัลชันเจล ( emulsion gel) เพื่อที่จะรวมสมุนไพร ทั้ง 2 ชนิดให้อยู่ในตำรับเดียวกัน ครอบคลุมอาการปวดตามประกาศสรรพคุณในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำการ พัฒนา 3 สูตรตำรับ โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรมการปรับปริมาณสารลดแรงตึงผิวผสม 2 ชนิด ( Span® 80 กับ Tween® 80) ในตำรับอิมัลชันก่อนนำมาพัฒนาต่อเป็นอิมัลชันเจล ทำการคัดเลือกตำรับที่มีคุณสมบัติทาง กายภาพและเคมีที่ดีที่สุด ลักษณะทางกายภาพของตำรับ ได้แก่ ความเข้ากันหรือการแยกชั้น ความหนืดและ ความเป็นกรดด่างของตำรับที่วันที่ 1 และ 7 ลักษณะทางเคมี ได้แก่ การพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีโดยใช้ Thin layer Chromatography การวิเคราะห์ปริมาณสาร capsicin โดยใช้ High Performance Liquid Chromatography การทดสอบความคงตัว โดยใช้เทคนิค Freeze – thaw cycling จ านวน 6 วงรอบ

 

ผลการศึกษาพบว่าตำรับที่ 2 และ 3 เป็นต ารับที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่ดี ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ( p-value>0.05) ในประเด็นลักษณะทางกายภาพของตำรับ ความหนืดและความเป็นกรด ด่างของตำรับที่วันที่ 1 และ 7 ในประเด็นลักษณะทางเคมีพบว่าพบว่าตำรับที่พัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เภสัชตำรับในการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ capsicin สรุปผลการศึกษา ตำรับอิมัลชันเจลที่พัฒนาจากสาร สกัดพริกและไพลได้เป็นไปตามมาตรฐานเภสัชตำรับในด้านกายภาพและเคมี อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษา เพิ่มเติมในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับต่อไป

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

plaichillEMJ

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์หญ้าดอกขาว

ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม

1. ที่มาและความสำคัญ
หญ้าดอกขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Vernonia cinerea (L.) Less วงศ์ Asteraceae เป็นพืชเขตร้อน
ที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละทอง
ถิ่น เช่น หมอน้อย หญ้าละอองดาว ก้านธูป ถั่วแฮะดิน ฝรั่งโคก เสือสามขา หญ้าสามวัน เซียวซัวเฮา เอกสาร
ข้อมูลในทางการแพทย์อายุรเวช นิยมใช้ชื่อ Sahadevi มากที่สุด

หญ้าดอกขาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1-5 ปี สูง 1-5 ฟุต ลำต้นเป็นเหลี่ยมตั้ง
ตรงแตกกิ่งก้านน้อย มีขนนุ่ม ใบมีหลายรูป ทั้งรูปไข่รี ปลายและโคนแหลม ผิวใบค่อนข้างเรียบ มีขนนุ่ม ดอก
เล็กกลมเป็นพู่เป็นช่ออยู่ปลายยอดมีสีม่วงหรือชมพูผลแห้งขนาดเล็ก ปลายมีขนแห้งสีขาวเป็นพู่แตกบาน
เจริญได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ลำต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ใช้ลำต้นแห้งน ามาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้
ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แผลบวมอักเสบ ใบ ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยสมาน หรือคั้นแล้ว
กรองเอาน้ าหยอดตาแก้ฝ้าฟาง ตาแดง ทาแก้กลากเกลื้อ เมล็ด ใช้เมล็ดแห้งมาป่นให้ละเอียด ชงกับน้ำร้อนเป็น
ยาขับพยาธิเส้นด้วย ปัสสาวะขัดบำรุงธาตุ ราก ใช้รากสดเอามาต้มเอาน้ำกินขับพยาธิ  ขับปัสสาวะ ช่วยเร่ง
คลอดและขับรกหลังคลอด ทั้งต้นและราก ตากแห้งบดเป็นผง รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังพุพอง ต้มกิน
แก้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือตำพอกนมแก้นมคัด

ยาจากสมุนไพรหญ้าดอกขาว ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2554 มีข้อบ่งใช้เพื่อลดความ
อยากบุหรี่ โดยรับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงในน้ าร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร หลังอาหารวันละ 3-4
ครั้ง และ สปสช. ประกาศรองรับให้ผู้มีสิทธิสามารถได้รับยานี้ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ข้อ
ควรระวังของการใช้คือ ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไต เนื่องจากหญ้าดอกขาวมีโพแทสเซียมสูง ส่วน
อาการไม่พึงประสงค์คือทำให้ปากแห้ง คอแห้ง

เนื่องจากหญ้าดอกขาวในรูปแบบชาชงตามบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น มีข้อจำกัดในการใช้ คือ
1. จำเป็นต้องใช้น้ำร้อนในการแช่ชาไว้สักครู่เพื่อให้ชาละลายก่อนใช้ดื่ม
2. ไม่สะดวกในการพกพา
3. สมุนไพรมีรสขมเฝื่อนและมีกลินเหม็นเขียวเนื่องจากไม่ได้มีการปรุงแต่งรส

ดังนั้นอาจทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากนัก ทำให้ประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
การพัฒนาตำรับให้ใช้งานง่ายขึ้น สะดวก พกพาสะดวก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาต ารับสเปรย์หญ้าดอกขาว

 

Download อ่านข้อมูลฉบับเต็ม

รายงานการพัฒนาตำรับสเปรย์หญ้าดอกขาว2

อนุมัติแผนปฏิบัติการ หมวดงบลงทุน(เงินบำรุง) ปีงบประมาณ 2564

อนุมัติแผนปฏิบัติการ หมวดงบลงทุน(เงินบำรุง) ปีงบประมาณ 2564

อนุมัติแผนปฏิบัติการ หมวดงบลงทุน(เงินบำรุง) ปีงบประมาณ 2564

อนุมัติแผนงบลงทุน(ครุภัณฑ์การแพทย์) เงินประกันสังคม ปีงบประมาณ 2564

อนุมัติแผนงบลงทุน(ครุภัณฑ์การแพทย์) เงินประกันสังคม ปีงบประมาณ 2564

อนุมัติแผนงบลงทุน(ครุภัณฑ์การแพทย์) เงินประกันสังคม ปี 2564