ร่างประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ 6 พารามิเตอร์ ระบบรวมศูนย์ไม่น้อยกว่า 4 เตียง โรงพยาบาลมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ร่างประกาศประกวดราคาซื้อ เครื่องติดตามสัญญาณชีพ

ร่างประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องให้ออกซิเจนด้วยอัตราการไหลสูง โรงพยาบาลมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ร่างประกาศประกวดราคาซื้อ เครื่องให้ออกซิเจน

ประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องจี้ห้ามเลือด เลาะเนื้อเยื่อ และเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยระบบไฟฟ้า

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ประกาศประกวดราคาซื้อ เครื่องจี้ห้ามเลือด

ประกาศประกวดราคาซื้อเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดไบเฟสิคพร้อมภาควัดออกซิเจนในเลือด

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ประกาศประกวดราคาซื้อ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อชุดผ่าตัดในช่องท้องผ่านกล้องพร้อมระบบวีดิทัศน์

ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้ประกาศผู้ชนะ ชุดผ่าตัดในช่องท้อง

รพ.มหาสารคาม ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC)  ติดตามการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19   ครั้งที่ 20/2565

(14-3-2565)  ที่ห้องประชุมจัมปาศรี ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการเพื่อตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center)  หรือ EOC โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่    ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

รพ.มหาสารคาม เปิดศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และศูนย์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้บริการฉับไว และครบวงจรจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในการเปิดศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และศูนย์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery) เพื่อรองรับการบริการที่เพิ่มขึ้น สามารถเข้าถึงบริการที่สะดวก รวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการรักษา ณ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด  ชั้น 5  อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า การเปิดเปิดศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และศูนย์การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery) แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของระบบการให้บริการส่องตรวจและวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimal Invasive Surgery) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการดูแลและให้บริการผู้ป่วยด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็ก โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ให้บริการฉับไว และครบวงจรจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

นายแพทย์เฉลิมพล  บุญพรหมธีรกุล หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการรักษาด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery) และการผ่าตัดแผลเล็ก (One Day Surgery) มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยลดอุปสรรคในด้านการบริการทางการแพทย์ ได้แก่ ระยะเวลารอการส่องตรวจ/การผ่าตัดนาน การนัดหมายคิว การพักฟื้นสังเกตอาการ รวมถึงการจัดการความเจ็บปวดจากการรักษา ทำให้เกิดความแออัดในโรงพยาบาล ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้น้อยลง

 

ดังนั้น โรงพยาบาลมหาสารคาม จึงมีการพัฒนาระบบการให้บริการส่องตรวจและวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ  และการผ่าตัดแผลเล็ก อาทิ 1.โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ 2.ถุงน้ำที่อัณฑะ 3.ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ 4.โรคเส้นเลือดดำโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร 5.ริดสีดวงทวาร 6.ต้อเนื้อ เป็นต้น โดยระดมหน่วยงานการรักษาที่เกี่ยวข้อง บรูณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพอย่างต่อเนื่อง และมีเป้าหมายเพื่อรองรับการบริการที่เพิ่มขึ้น สามารถเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการรักษา โดยประชาชนผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 043-711750-4 หรือ เฟสบุคแฟนเพจโรงพยาบาลมหาสารคาม—-(14-03-65)

 

ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาสารคาม จัดงานปัจฉิมนิเทศ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่น 7

(11-3-2565)  ที่ห้องประชุมศูนย์แพทยศาสตรศึกษา  นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงานปัจฉิมนิเทศ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่น 7 ปีการศึกษา 2564 และมอบเกียรติบัตรเพื่อแสดงความยินดีกับบัณฑิตกับนักศึกษาแพทย์   ในโอกาสที่จะสำเร็จการศึกษา และต้องแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ในภูมิลำเนาตามปณิธาณ ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

ด้าน แพทย์หญิงเบญจมาศ ดวงคำน้อย ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม  กล่าวว่า ตั้งแต่ ปี 2548 ที่ โรงพยาบาลมหาสารคามได้ลงนามคู่ความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดรับนักศึกษาแพทย์ครั้งแรกเมื่อปี 2554 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2557 ผลิตบัณฑิตแพทย์ไปแล้ว  6 รุ่น จำนวน 122 คน และใน ปี 2564 นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 รุ่นที่ 7 จำนวน 11 คน คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาตามกำหนดระยะเวลา จำนวน 10 คน  และจะเสร็จสิ้นการเรียนการสอน ในวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่จะถึงนี้

ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การชมวิดีทัศน์ สาส์นจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข การมอบเกียรติบัตรเพื่อแสดงความยินดีกับบัณฑิต มอบรางวัล extern ในดวงใจ การบรรยายพิเศษ เพื่อปลูกฝังการเป็นแพทย์เพื่อชาวชนบท  เรื่อง หมอเพื่อชาวชนบทวิชาชีพที่น่าภาคภูมิใจ โดย แพทย์หญิงสาธิตา เรืองสิริภคกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุดรัง  นายแพทย์สุชาติ ทองแป้น อายุรแพทย์ จาก โรงพยาบาลบรบือ และกิจกรรมอำลาสถาบันการศึกษา