ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงระดับความคมชัดสูง 3 หัวตรวจ

ประกาศผู้ชนะ เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

ประกาศผู้ชนะ เครื่องควบคุมการให้สารละลาย
ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

โรงพยาบาลมหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” ตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

          รพ.มหาสารคาม ชวนบุคลากร“ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ด้วยเทคนิคสุขภาพดีตามแนวทางแพทย์วิถีธรรม

(8-3-2562) นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีพิธีเปิด โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี” เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ณ วัดธัญญาวาส  ต.ตลาด  อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประกอบด้วยบุคลากร รพ.หาสารคาม ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน หรือมีภาวะเริ่มอ้วนจำนวน 100 คน  และประชาชนจากชุมชนใกล้เคียงและผู้สนใจอีกกว่า 30 คน

สำหรับกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติจริงเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน การประยุกต์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดี ในส่วนของวิทยากรได้รับความอนุเคราะห์ จากจิตอาสาจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม และรพ.สต.เครือข่าย

นายแพทย์สุนทร  ยนต์ตระกูล ผอ.รพ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ด้วยเขตสุขภาพที่ 7 ได้กำหนดแผนพัฒนาในการส่งเสริมป้องกันโรค ลดปัญหาโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ด้วยการนำหลักการสร้างสุขภาพดี 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และเอาพิษออก รวมทั้งการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการลด ละ กิเลส การสร้างคุณงามความดีทำจิตใจให้ผ่องใส การใช้แพทย์วิถีธรรม 9 ขั้นตอนหรือยา 9 เม็ด ประกอบกับจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2559-2561 พบว่า บุคลากร มีภาวะเสี่ยงต่อโรคที่พบมากที่สุด 5 อันดับ คือ โคเลสเตอรอลสูง รอบเอวเกิน ระดับน้ำตาลในเลือดค่าปกติ และความดันโลหิตสูง   ส่วนในด้านพฤติกรรม พบว่ามีการออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ออกกำลังกายเลย

ดังนั้น รพ.มหาสารคาม โดยกลุ่มงานสุขศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดีในวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย ปลอดภัยและได้ผลเร็ว ซึ่งสามารถพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย กดจุด การกายบริหารตนเอง หรือพิจารณาการเลือกรับประทานอาหารหรือนำสิ่งที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย  โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น พืชผักสวนครัว อาหารตามฤดูการในท้องถิ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพตนเองต่อไป

 

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อเครื่องตัดน้ำวุ้นลูกตาส่วนหลังพร้อมเลเซอร์

ประกาศผู้ชนะเครื่องตัดน้ำวุ้นลูกตา
ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อชุดถ่ายทอดสัญญาณภาพ สำหรับผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าและข้อไหล่

ประกาศผู้ชนะ ชุดถ่ายทอดสัญญาณภาพ
ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาซื้อเครื่องช่วยหายใจชนิดปริมาตรกำหนดรอบพร้อมเครื่องผลิตอากาศเคลื่อนย้ายได้

ประกาศผู้ชนะ เครื่องช่วยหายใจชนิดปริมาตรกำหนดรอบ
ตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้

แพทย์วิถีธรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

แพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี”

ขอเชิญร่วมอบรม อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแพทย์วิถีธรรม “ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อสุขภาพดี”  บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม   ปี ๒๕๖๒

ในวันศุกร์ที่ ๘  มีนาคม ๒๕๖๒   ณ ศาลาวัดธัญญาวาส ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม

 

กำหนดการ

๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.         –  ลงทะเบียน
–  ตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม
–  ความรู้เรื่องโรคไต    โดยหน่วยงานไตเทียม
–  ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง   โดยกลุ่มงานศัลยกรรมทั่วไป
๐๙.๐๐ – ๐๙.๒๐ น.         –  พิธีเปิด โดย  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
–  กล่าวรายงาน โดย นายแพทย์ไพบูลย์ อัศวธนบดี
๐๙.๒๐ – ๐๙.๓๐ น.       –  ชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
โดย นางอรณต  วัฒนะ  หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษา
๐๙.๓๐ –๑๐.๓๐ น.         –  หลักแพทย์วิถีธรรม ยา ๙ เม็ด และการใช้ศีลในการรักษาโรค
โดย  นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส  ผอ. รพ.สต.ท่าไคร้ จ.กาฬสินธุ์
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.        –  การสวนล้างลำไส้ใหญ่
โดย นายบวร ไชยวงษา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.โนนเพ็ก
–  การกัวซา  หรือการขูดพิษ
โดย  นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส  ผอ. รพ.สต.ท่าไคร้ จ.กาฬสินธุ์
๑๒.๐๐- ๑๓.๐๐ น.          –  รับประทานอาหารกลางวัน
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคคลต้นแบบ  ๔ ท่าน
๑๓.๐๐- ๑๖.๐๐ น.          –  เข้าประจำฐาน ๓  กลุ่ม

กลุ่มที่๑  น้ำสมุนไพรไทยปรับสมดุลร้อนเย็น ไร้พุง ไร้โรค

โดย นายบวร ไชยวงษา และนางกัญญาภัคร์ อรุณโน

กลุ่มที่ ๒  การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็น (รสจืด

ลดเครื่องปรุง หวาน มัน เค็ม)

โดย นางบุญทัน มะลิรส และนางสุภาพร ศรีหาเลิศ

กลุ่มที่ ๓  การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร

การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร

โดย นายวงศ์ประสิทธิ์ มะลิรส และนางธิวา พิมพ์บุตร

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.         –  นำเสนอกิจกรรมกลุ่ม

–  ปิดการอบรม

แพทย์วิถีธรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562

 รพ.มหาสารคามจัดงานรณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  ด้านแพทย์เผยปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน มาจากการใช้ชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังมากขึ้น

          นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.มหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด รณรงค์วันการได้ยินโลก ปี 2562  (Word Hearing Day ๒๐๑๙ ) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาการได้ยินและฟื้นฟูการได้ยินตั้งแต่ระยะแรกที่พบความผิดปกติ ณ บริเวณหน้าห้องตรวจ หู คอ จมูก  ชั้น ๒ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีกิจกรรม ประกอบไปด้วย การตรวจการได้ยิน  การตรวจหู การให้ความรู้  การถามตอบปัญหา และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการได้ยิน และโรคทางหู ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้สูงอายุ

นายแพทย์สุดชาย เลยวานิชย์เจริญ เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในประเทศไทย ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าการออกบัตรประจำตัวคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย มีมากเป็นอันดับ  2  คิดเป็นร้อยละ 18.41 รองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 49.77   อายุที่มากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นจำนวนเฉพาะผู้ที่มารับการจดทะเบียนคนพิการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาการได้ยินลดลงในประชากรไทยมีประมาณ 2.7 ล้านคน ซึ่งหากไม่รีบป้องกันและแก้ไข ในอนาคตคนไทยทุกๆ 10 คน อาจจะพบผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน 1 คน

แพทย์หญิง ญาณพันธุ์ ถายา หัวหน้ากลุ่มงาน โสต ศอ เปิดเผยว่า สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินมีหลายประการ เช่น การอักเสบติดเชื้อของหูหรือเยื่อหุ้มสมอง  ศีรษะได้รับการกระทบกระแทกรุนแรง การสัมผัสเสียงดังๆ การเสื่อมสภาพตามอายุ หรือยาบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายหูชั้นใน เป็นต้น

เมื่อก่อนหูน้ำหนวกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีปัญหาสูญเสียการได้ยิน แต่ปัจจุบันเมื่อยาปฏิชีวนะดีขึ้นการเข้าถึงระบบสาธารณสุขดีขึ้นทำให้ปัญหาหูน้ำหนวกลดลง ประกอบกับพฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไป มีการใส่หูฟังมากขึ้น มีการแสดง Concert ต่างๆ การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีเสียงดัง ทำให้สาเหตุการสูญเสียการได้ยินเปลี่ยนไป นอกจากนี้คนเรามีอายุยืนมากขึ้นประสาทหูเสื่อมจากอายุก็พบมากขึ้นด้วย  แต่ปัจจุบันกลับพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียการได้ยินหรืออันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง และไม่เคยได้รับการตรวจการได้ยิน  ซึ่งถ้าประสาทหูเสื่อมแล้วจะไม่มีทางแก้ไขให้เป็นเหมือนเดิมได้  ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการสูญเสียการได้ยินและพยายามหาทางป้องกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ เช่น สถานบันเทิง ร้านอาหาร หรืองานคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังเป็นเวลานานและต่อเนื่อง  รวมถึงกลุ่มคนที่ใช้หูฟังเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ หรือวัยรุ่นที่เสียบหูฟังเพื่อฟังเพลงหรือเล่นเกมส์เสียงดังเป็นเวลานาน  เป็นต้น ดังนั้นเพื่อประชาชนหรือผู้ที่ทำงานในที่มีเสียงดังควรตรวจประเมินการได้ยินเป็นระยะ ๆ หรือพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติทางการได้ยิน