รมว. สาธารณสุข  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมเสริมกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ รพ.มหาสารคาม

รมว. สาธารณสุข  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคุณผู้บริหารกระทรวง ตรวจเยี่ยมเสริมกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม

  วันนี้ (8 มิถุนายน 2567) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคุณผู้บริหารกระทรวง และผู้เกี่ยวข้อง เดินทางมาตรวจเยี่ยมเสริมกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชม การดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข  อาทิ  งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์ชีวาภิบาล การให้บริการ Telemedicine หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน

  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การมาเยี่ยมเสริมกำลังใจให้กับบุคลากรการแพทย์ ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจากการนำเสนอ ทำให้ได้รับรู้ถึงความตั้งใจ ของบุคลากรการแพทย์จังหวัด ที่มุ่งผลักดันดำเนินนโยบาย 5 เร่งรัดพัฒนา อันได้แก่ ยกระดับบัตร 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ปัญหายาเสพติด การแพทย์ปฐมภูมิ และเศรษฐกิจสุขภาพ รวมถึงการเข้าถึงการบริการของประชาชน 5 นโยบายเร่งด่วน อันได้แก่ โครงการในพระราชดำริ สร้างขวัญกำลังใจ ให้บุคลากรการแพทย์ เชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วย รวมถึงจัดตั้งสถานชีวาภิบาลทั้งในโรงพยาบาลและในวัด  ถือเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนมี สุขภาพดี ขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างดี

  ด้าน นายแพทยภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า บุคลากรการแพทย์ในจังหวัดมหาสารคาม มีความยินดีเป็นอยางยิ่ง ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคุณผู้บริหารกระทรวง ให้เกียรติมาเยี่ยมเสริม กําลังใจแก่บุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งมุ่งเน้นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนชาวมหาสารคามและพื้นที่ใกลเคียงอย่างต่อเนื่อง โดยดําเนินงานตามนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา คุณภาพการบริการเพื่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน  

  วันนี้ (8 มิถุนายน 2567) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคุณผู้บริหารกระทรวง และผู้เกี่ยวข้อง เดินทางมาตรวจเยี่ยมเสริมกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีนายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคามโรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชม การดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข  อาทิ  งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ศูนย์ชีวาภิบาล การให้บริการ Telemedicine หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน

  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การมาเยี่ยมเสริมกำลังใจให้กับบุคลากรการแพทย์ ณ โรงพยาบาลมหาสารคาม ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจากการนำเสนอ ทำให้ได้รับรู้ถึงความตั้งใจ ของบุคลากรการแพทย์จังหวัด ที่มุ่งผลักดันดำเนินนโยบาย 5 เร่งรัดพัฒนา อันได้แก่ ยกระดับบัตร 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ปัญหายาเสพติด การแพทย์ปฐมภูมิ และเศรษฐกิจสุขภาพ รวมถึงการเข้าถึงการบริการของประชาชน 5 นโยบายเร่งด่วน อันได้แก่ โครงการในพระราชดำริ สร้างขวัญกำลังใจ ให้บุคลากรการแพทย์ เชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วย รวมถึงจัดตั้งสถานชีวาภิบาลทั้งในโรงพยาบาลและในวัด  ถือเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนมี สุขภาพดี ขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างดี

  ด้าน นายแพทยภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า บุคลากรการแพทย์ในจังหวัดมหาสารคาม มีความยินดีเป็นอยางยิ่ง ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคุณผู้บริหารกระทรวง ให้เกียรติมาเยี่ยมเสริม กําลังใจแก่บุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งมุ่งเน้นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนชาวมหาสารคามและพื้นที่ใกลเคียงอย่างต่อเนื่อง โดยดําเนินงานตามนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา คุณภาพการบริการเพื่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน  

รพ.มหาสารคาม ร่วมโครงการส่งเสริมคนพิการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการถ้วนหน้า เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

(7-5-2567) ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม นายแพทย์ประเสริฐ  ศรีสารคาม  รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์  โรงพยาบาลมหาสารคาม  พร้อมด้วยคณะบุคลากร  เข้าร่วมพิธีเปิด “โครงการส่งเสริมคนพิการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” โดยมี นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วม โดยในวันนี้ มีคนพิการที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ของอำเภอเมืองมหาสารคาม รวม 161 คน

สำหรับการจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม พร้อมทั้งยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในมิติงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยได้ตระหนักถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของคนพิการและความเร่งด่วนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือตามประเภทความพิการ ด้วยเหตุคนพิการไม่ทราบถึงสิทธิสวัสดิการที่ตนพึงได้รับ รวมถึงคนพิการที่ไม่สามารถเดินทางไปติดต่อขอรับสิทธิสวัสดิการ ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานราชการได้ เนื่องจากประสบปัญหาด้านการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และประเภทความพิการ โครงการดังกล่าว จึงได้จัดรูปแบบการให้บริการเพื่อเพิ่มโอกาสให้คนพิการกลุ่ม สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการถ้วนหน้า อย่างสะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้ 1.) การลงพื้นที่คัดกรองคนพิการในระดับพื้นที่ 2.) การตรวจประเมินเพื่อรับรองความพิการ 3.) การออกบัตรประจำตัวคนพิการ และ 4.) การขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ และการให้บริการนำพาคนพิการเข้ารับบริการต่างๆ ซึ่งจะมีการลงพื้นที่ให้บริการพี่น้องประชาชน ทั้ง 13 อำเภอ ของจังหวัดมหาสารคาม โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ และภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนในพื้นที่ สร้างโอกาส สิทธิและความเท่าเทียมในสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

รพ.มหาสารคาม ร่วมซ้อมแผนเหตุอุบัติภัยหมู่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

(5-4-2567)  นายแพทย์ประเสริฐ  ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567  เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัย และสถานการณ์สาธารณภัยต่าง ๆ ตลอดถึงการซักซ้อมความเข้าใจระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประกาศใช้แผนอุบัติเหตุหมู่แบบบูรณาการ โดยซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่จำลองเหตุการณ์เสมือนจริง เมื่อเกิดสาธารณภัยแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการสื่อสาร การบริหารจัดการ ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากหน่วยกู้ชีพ ไปส่งยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมในพื้นที่ที่กำหนด ตามความสามารถรองรับบริการของโรงพยาบาลเหล่านั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชนนั้น ๆ ขึ้น บุคลากรทั้งหมดจะได้มีความพร้อมและปฏิบัติงานได้จริงและช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุได้ทันท่วงที

 

รพ.มหาสารคาม เปิด “มุมเติมรัก ปันสุข Care D Corner” จุดรวมน้ำใจให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามและประชาชน ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งความรักด้วยการแบ่งปัน

 

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม  ประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเปิด “มุมเติมรัก ปันสุข Care D Corner”  จุดรวมน้ำใจให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามและประชาชน ร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งความรักด้วยการแบ่งปัน โดยมีนายแพทย์สถาพร ณ ราชสีมา รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมประกอบด้วยแพทย์ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนกว่า 50 คน  ณ บริเวณหน้าอาคารผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า การจัดตั้ง “ตู้เติมรัก ปันสุข Care D Corner” ถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Care D+ โดยมี Care D+ Team และนักประสานใจ ทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ เป็นมิตรถาวร ทำให้ผู้มารับบริการทราบข้อมูลการบริการ เข้าใจถึงขั้นตอนการรักษา ลดความวิตกกังวล และที่มากไปกว่านั้นคือเพิ่มความใส่ใจ หรือ Care ส่วน D คือ ดีต่อใจ และ Develop โดยเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสาร การสื่อสารด้วยความเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้ง รับฟังผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ

 

ซึ่งในส่วนของการเห็นอกเห็นใจ ความใส่ใจและเอื้ออาทรต่อผู้ป่วยและญาติ  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรสาธารณสุขจะได้แสดงออกต่อสังคม พร้อมร่วมโอบอุ้มดูแลกันพี่น้องประชาชนในยามยาก จึงได้เกิดกิจกรรมเปิด “มุมเติมรัก ปันสุข Care D Corner” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปัน ในวันแห่งความรักและทุก ๆ วัน ให้กับประชาชน  และเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสแบ่งปันน้ำใจ โดยนำอาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค มาเติมบุญ เติมสุข ใส่ตู้ใบนี้

 

ทั้งนี้ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้จัดทำมุม “เติมรัก…ปันสุข” ขึ้นที่บริเวณหน้าอาคารอายุรกรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน โดยขอเชิญชวนบุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคาม และประชาชน นำสิ่งของมาร่วมบริจาคใส่ตู้ “เติมรัก…ปันสุข” เป็นน้ำใจให้กับผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล หรือ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพื่อมอบสิ่งของได้ที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

#ตู้เติมรักปันสุข

#กระทรวงสาธารณสุข

 

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมกับสถาบันการศึกษาทางการพยาบาล ในจังหวัดมหาสารคาม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเพิ่มพูนศักยภาพและการผลิต ผลงานทางวิชาการ ของบุคลากรทางการพยาบาล

(31-1-2567)  นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการและวิชาชีพ ของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม และคณาจารย์ สถาบันการศึกษาทางการพยาบาล ในจังหวัดมหาสารคาม

ซึ่งมีผู้รักษาราชการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้อำนวยการวิทยาลัย

พยาบาลศรีมหาสารคาม คณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามและคณาจารย์คณะ

พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมลงนามในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม

 

ด้วยโรงพยาบาลมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงาน

ทางวิชาการของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลมหาสารคาม เนื่องจากการ

ปฏิบัติการพยาบาลให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะนำไป

สู่การตัดสินใจทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่คุณภาพการบริการที่ดี

ต่อผู้รับบริการ การผลิตผลงานวิชาการโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยการใช้

กระบวนการวิจัยจึงเป็นวิธีการหาคำตอบอย่างเป็นระบบที่พยาบาลควรจะนำมาเป็น

แนวทางในการค้นหา วิเคราะห์ รวบรวมองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล

ซึ่งเป็นงานประจำได้ตามกระบวนการวิจัยที่มุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพภายในให้มากที่สุด

 

ภายใต้ข้อจำกัดในระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อให้คำตอบสามารถนำไปพิจารณาแก้ปีถ

การปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยงานของตนเองได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับบริบทของ

แต่ละหน่วยบริการสุขภาพ ท่ามกลางสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะปัญหาสุขภาพมีการ

เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ชับซ้อน และต้องการการดูแลในเชิงรุกมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากร

ทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคามจึงได้จัดทำโครงการ บันทึกข้อตกลงความ

ร่วมมือทางวิชาการโครงการเพิ่มพูนศักยภาพ และการผลิตผลงานทางวิชาการและ

วิชาชีพของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม และคณาจารย์

สถาบันการศึกษาทางการพยาบาล ในจังหวัดมหาสารคาม

 

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการ Care D+ จ.มหาสารคาม

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งขับเคลื่อนบุคลากรสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ

ที่ห้องประชุมตักสิลา อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลมหาสารคาม นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) จังหวัดมหาสารคาม มุ่งพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ให้บุคลากรสาธารณสุขทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ พร้อมมอบเป็นของขวัญ ปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้กล่าวรายงาน มีนายแพทย์ภาคภูมิ นโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนกว่า 500 คน

นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13 Quick Win ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ และจะต้องดำเนินงานให้เห็นผลสัมฤทธิ์ภายใน 100 วัน ซึ่งปัจจุบันนี้การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน ไม่ใช่แค่การตรวจรักษา ให้ยา แล้วกลับบ้าน แต่สิ่งที่มีความสลับซับซ้อน มากกว่านั้น คือการดูแลเอาใจใส่ผู้มารับบริการที่กำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีความเปราะบางทางอารมณ์ ที่มีความวิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้ และสิ้นหวัง หากบุคคลเหล่านั้นได้รับการดูแลเอาใจใส่ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ จนทำให้เกิดความมั่นใจในการได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจในการรับบริการ
การจัดโครงการฯ ในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้าอบรมฯ ทุกคนจะได้พัฒนาศักยภาพทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรสาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ต่อกัน ซึ่งเชื่อว่าทีม Care D+ จ.มหาสารคาม จะเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหา ความขัดแย้ง สร้างความอุ่นใจ ความเชื่อมั่น ให้กับญาติ ผู้ป่วย เป็นอีกหนึ่งของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะมอบให้กับประชาชน

ด้าน ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า จากข้อมูลรายงาน ปัญหาความขัดแย้งข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการขาดการสื่อสาร หรือการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรงกัน รวมทั้งการขาดเทคนิคในการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติ จนทำให้เกิด การร้องเรียน ฟ้องร้อง ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ขวัญและกำลังใจของ บุคลากร

ทั้งนี้ จังหวัดมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นการสื่อสารนี้ และตอบรับนโยบายการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร จึงได้ดำเนินการโครงการสร้างทีม Care D+ จังหวัดมหาสารคามขึ้น โดยมีบุคคลากรที่สมัครเข้าร่วมโครงการอบรม ขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม Care D+ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย แพทย์ 8 คน, ทันตแพทย์ 6 คน, เภสัชกร 3 คน, พยาบาลวิชาชีพ 89 คน, นักวิชาการสาธารณสุข 38 คน, นักประชาสัมพันธ์ 5 คน และสหวิชาชีพ 17 คน จำนวนทั้งสิ้น 166 คน ครอบคลุมทุกอำเภอ โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะทำหน้าที่เป็นญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ ในทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อช่วยสื่อสารและประสานใจให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากร สาธารณสุข ด้วยความใส่ใจ ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อกัน

รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรม“วันแพทย์” เชิดชูเกียรติ เป็นขวัญกำลังใจแด่บุคลากรทางการแพทย์

รพ.มหาสารคาม จัดกิจกรรม“วันแพทย์” เชิดชูเกียรติวิชาชีพแพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ เป็นขวัญกำลังใจแด่บุคลากรทางการแพทย์
นพ.ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วันแพทย์” โรงพยาบาลมหาสารคาม ณ ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเชิดชูเกียรติวิชาชีพแพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ เป็นขวัญกำลังใจแด่บุคลากรทางการแพทย์ และพัฒนาความรู้ทักษะทางสังคมแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในเรื่องเทคนิคการสื่อสาร ตลอดจนเผยแพร่ผลงาน และเชิดชูเกียรติแพทย์ที่ได้รับรางวัลด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย แพทย์ นักศึกษาแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนกว่า 100 คน
นพ.ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า วิชาชีพแพทย์ เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ ซึ่งได้รับการยกย่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ และงานวันแพทย์แห่งประเทศไทยนั้น ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นวันที่ 27 พฤศจิกายน ปี 2499 สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแพทย์ให้มีขวัญ กำลังใจที่ดี ในการทำงาน ที่ต้องทุ่มเท เสียสละ ทั้งแรงกาย แรงใจในการดูแลผู้ป่วย ให้หายเจ็บป่วย พ้นจากความทุกข์ทรมาน และในปัจจุบันแพทย์ยังได้เพิ่มบทบาทในการเป็นครู สอนนักศึกษาแพทย์เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักศึกษาเจริญรอยตาม โดยการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 ที่ โรงพยาบาลมหาสารคาม ได้จัดงานวันแพทย์ขึ้น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมอันดีงาม ที่ควรจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดรูปแบบของการทำงานด้านสาธารณสุข และการเสียสละเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ด้าน พญ.เบญจมาศ ดวงคำน้อย ประธานองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตระหนักเห็นว่าภารกิจของแพทย์ทุกท่านที่ปฏิบัติงานบริการประชาชนทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ เป็นภารกิจหน้าที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ เสียสละทั้งในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว เพื่อรักษาประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี สมควรที่องค์กรที่รับผิดชอบและสังคมจะให้กำลังใจ และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่เชิดชู เป็นที่ประจักษ์และ ให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม โดยเฉพาะแพทย์ที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ สมควรได้รับการยกย่องผลการปฏิบัติงานดังกล่าวต่อสาธารณชน ดังนั้น โรงพยาบาลมหาสารคาม ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลด้านสุขภาพ มีแพทย์ปฏิบัติงานกว่า 130 ชีวิต ที่ได้มุ่งมั่นทุ่มเทเสียสละ ให้บริการด้านสุขภาพแก่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงรวม ทั้งเป็นตัวอย่างในการหล่อหลอมนักศึกษาแพทย์ จำนวน 108 คนที่มาฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาสารคาม จึงได้จัดกิจกรรมวันแพทย์ขึ้นในครั้งนี้
ทั้งนี้ภายในงานมีการจัดกิจกรรม บรรยายพิเศษเรื่องเทคนิคการสื่อสาร โดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีมอบโล่รางวัล แก่ แพทย์ดีเด่น ทั้ง 7 ด้าน ซึ่งได้จากการคัดเลือก และ จากผลโหวตของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาสารคาม และจากนักศึกษาแพทย์ ได้แก่
1. แพทย์ดีเด่นด้านบริหาร คือ1.นายแพทย์ ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ 2.แพทย์หญิง เบญจมาศ ดวงคำน้อย ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม
2. แพทย์ดีเด่นด้านเสียสละ
แพทย์หญิง สุภาวดี นวลอ่อน
3. แพทย์ดีเด่นด้านขวัญใจมหาชน
นายแพทย์ ยศวริศ จรัณยานนท์
4. แพทย์ดีเด่นด้านวิชาการ/วิจัย
แพทย์หญิง สายพิณ ฤทธิโคตร
5. แพทย์ดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม
แพทย์หญิง ยุคนธร ท่าพิมาย
6. แพทย์ดีเด่นด้านครูแพทย์
แพทย์หญิง สุพิสชา ธีรศาศวัต
7. กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ดีเด่น
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
พร้อมมอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ได้แก่ นายแพทย์ภาณุศาสน์ การเกษ และในช่วงท้าย มีการเสวนาเรื่อง “เหลียวหลัง และหน้า องค์กรแพทย์” วิทยากรโดยอดีตประธานองค์แพทย์ ทั้ง 4 ท่าน รวมทั้งท่านปัจจุบัน ที่ให้เกียรติมาเล่าประสบการณ์การเป็นประธานองค์กรแพทย์ในอดีต ประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและความเป็นปึกแผ่นขององค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP

รพ.มหาสารคาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการผลิตยาสมุนไพรมาตรฐาน WHO-GMP จากโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม

  แพทย์หญิงจรัญญา  จุฬารี  รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม  ดร.ภก.อดิศักดิ์ ถมอุดทา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมคณะบุคลากร ร่วมต้อนรับพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม พร้อมบุคลากรและนักศึกษาเภสัชกร โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เนื่องในโอกาสมาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านมาตรฐานการผลิตยาสมุนโพร กระบวนการผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP ณ โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานด้านเภสัชกรรมของหน่วยงาน 

  แพทย์หญิงจรัญญา  จุฬารี  รองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิ โรงยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม  ผลิตยาสมุนไพรไทยด้วยมาตรฐานขั้นสูง  ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO-GMP มีการควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี 

  ปัจจุบันผลิตยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในการรองรับระบบบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม และเครือข่าย 21 แห่ง ตลอดจนโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และใกล้เคียง มีศักยภาพผลิตทั้งยาน้ำ ยาใช้ภายนอก ยาแคปซูล/ยาตำรับ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่าง ๆ ทั้งหมดจำนวน 60 ชนิด  มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการคลัง และระบบการซื้อขายที่โปร่งใส ทันสมัย และสนับสนุนการใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นพืชสมุนไพรโดยเน้นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ จ.มหาสารคาม เป็นหลัก พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมโดยบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรจังหวัดมหาสารคาม (Herbal City of Mahasarakham) 

  ด้านพันเอกหญิงณัฐชานันท์ ประภาสสันติกุล หัวหน้ากองเภสัชกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม เปิดเผยว่า โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นโรงพยาบาลที่มีการผลิตยาสมุนไพรที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานขั้นสูง เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป มีอาคาร อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยมีมาตรฐาน ทั้งยังมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต และควบคุมคุณภาพ เป็นหน่วยงานที่เหมาะสมที่บุคลากรทางการแพทย์ ในสายงานเภสัชกรรมการผลิต สมควรเข้าศึกษาเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะแลประสบการณ์ให้หน่วยงาน ตลอดจนถือเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในอนาคตอีกด้วย 

ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ชวนบริจาคโลหิต เพื่อต่อชีวิตมนุษย์

นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ร่วมบริจาคโลหิตเพื่อเป็นโลหิตสำรองไว้สำหรับรักษาผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนเตรียมความพร้อมให้มีโลหิตสำรอง เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยทั้งในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง

ผู้ที่สนใจสามารถบริจาคได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 16.00 น. ที่ธนาคารเลือด ชั้น 2 อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม สอบถามเพิ่มเติม โทร. โทร.043723355 ต่อ 9118

รพ.มหาสารคาม ขอสดุดีผู้วายชนม์ และครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา

บุญกุศลอันยิ่งใหญ่….รพ.มหาสารคาม ขอสดุดีผู้วายชนม์ และครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอความหวังเปลี่ยนอวัยวะ
โดยครั้งนี้ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 78 ปี ซึ่งมีภาวะเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุจราจร ต่อมาได้เสียชีวิต
ทั้งนี้ครอบครัวและญาติได้เข้าใจและยินยอมบริจาคดวงตาและอวัยวะทุกส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสภากาชาดไทย ประเมินอวัยวะที่ใช้ได้ คือ ดวงตา 2 ดวง โดยทีมจัดเก็บดวงตาได้เข้าผ่าตัดจัดเก็บในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 21.20 น. และรับอวัยวะเพื่อนำไปใช้ปลูกถ่ายช่วยชีวิตผู้ป่วยที่กำลังรอความหวัง ซึ่งถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย ให้แก่ผู้วายชนม์
ในโอกาสนี้ คุณวไลพร ปักเคระกา รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล พร้อมคณะ บุคลากรศูนย์รับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลมหาสารคาม และสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกันมอบหรีดเคารพศพแก่ครอบครัวผู้บริจาคอวัยวะ เพื่อขอบพระคุณในบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้