กลุ่มงานอาชีวเวขกรรม จัดประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2566

กลุ่มงานอาชีวเวขกรรม จัดประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2566
 (15-09-66) กลุ่มงานอาชีวเวขกรรม จัดประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2566 เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลมหาสารคามมีความรู้เรื่องอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมการประชุมวิชาการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ประจำปี 2566 เพื่อให้บุคลากรมีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ถูกต้องตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยมีนายแพทย์มารุต ตำหนักโพธิ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยได้รับเกียรติจากผศ.รัชนี จูสขี อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ อ.ดร.กัลยา หาญพิชาญชัย อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า บุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอนามัยและความ ไม่ปลอดภัยต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตลอดทั้งงานในสถานพยาบาลมีลักษณะและกระบวนการในการทำงานที่มีความสลับซับซ้อน เปรียบเสมือนโรงงานที่มีการทำงานหลายขั้นตอน เช่น งานบริการรักษาพยาบาล งานซักฟอก งานซ่อมบำรุง งานกำจัดขยะและของเสียต่างๆ งานผ่าตัด งานจ่ายกลาง งานพยาธิวิทยาและกายวิภาคงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น จึงมีผลให้บุคลากรบางส่วนเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยืน/นั่งทำงานอยู่กับที่ติดต่อกัน จนมีผลต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ มีรูปแบบการทำงานซ้ำๆ การใช้แรงดีงหรือตันที่ต้องออกแรงมากเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของ รวมทั้งการติดเชื้อจากการทำงานในหอผู้ป่วยต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องการยศาสตร์ ลักษณะท่าทางในการทำงาน รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงภายในโรงพยาบาล ถือเป็นสิ่งสำคัญและควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

ติวเข้ม…อบรมเชิงปฏิบัติการและซ้อมแผนอัคคีภัยในโรงพยาบาล

  โรงพยาบาลมหาสารคาม อบรมเชิงปฏิบัติการและซ้อมแผนอัคคีภัย ประจำปี 2566
    แพทย์หญิงสุภาวดี นวลอ่อน รองผู้อำนวยการด้านการพัฒนาคุณภาพ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและซ้อมแผนอัคคีภัย โรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2566 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์และฝึกซ้อมแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงพยาบาล รวมถึงการบัญชาการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC) ให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์อัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายแพทย์มารุต ตำหนักโพธิ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารบริการและจอดรถ
    ทั้งนี้ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและซ้อมแผนอัคคีภัย จัดโดยกลุ่มงานบริหารทั่วไป มีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรจากหน่วยงานและหอผู้ป่วยเข้าร่วมจำนวน 70 คน โดยมีวิทยากรจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพ และการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิทยากรโดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

รพ.มหาสารคาม ร่วมประชุมวิชาการสาธารณสุข “มหกรรมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” เขตสุขภาพที่ 7

        นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะบุคลากร เข้าร่วม ประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ มหกรรมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง  Region 7 Transformation
   โดย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา

รพ.มหาสารคาม พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา มุ่งลดภาวะการสูญเสียการมองเห็น และชะลอพิการตาบอดอย่างถาวร ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมโครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา สามารถคัดกรองสายตาเบื้องต้น และส่งต่อจักษุแพทย์ได้เหมาะสม อีกทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาเครือข่าย และประสานการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยมี แพทย์หญิง เพียงใจ ลวกุล หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมตักสิลา ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

แพทย์หญิงเพียงใจ ลวกุล หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยาโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดเผยว่า โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้บ่อย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรงและถาวร การรักษาที่ถูกต้องในช่วงเวลา ที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องสูญเสียสายตาและสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของการมองเห็นให้ดีขึ้น และกลับมาทำงานได้ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาจักษุ ได้มีการพัฒนาระบบบริการโดยมีตัวชี้วัดในการพัฒนา ตรวจจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายจอประสาทตา (Fundus camera) เป้าหมายร้อยละ 60 เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาให้เข้าสู่ระบบการรักษาให้ทันเวลา ผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้รับการยิงเลเซอร์ภายใน 30 วัน เป้าหมายร้อยละ80 ลดความพิการหรือลดความรุนแรงของโรค และเพื่อการสอดคล้องกับการตรวจราชการประเด็น Area base ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ จึงได้มีการจัดประชุมวิชาการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา โดยให้ความสำคัญและเน้นการคัดกรอง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว ตลอดจนการคัดกรองประเมินโรคทางด้านจักษุให้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการอ่านและแปลผลภาพถ่ายจอประสาทตา โดยได้รับความอนุเคราะห์งบประมาณจากเขตสุขภาพที่ 7 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาสารคาม และมีผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการฯ คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งจากโรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลชุมชน และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

ด้าน นายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษ ด้วยครุภัณฑ์การแพทย์ที่เหมาะสม และบุคลากรที่มีศักยภาพ มีความชำนาญเฉพาะทาง และต้องอาศัยการทำงานเป็นเครือข่ายบริการ เพื่อการพัฒนางานที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การลดภาวะการสูญเสียการมองเห็น และชะลอพิการตาบอด อย่างถาวร ภายใต้การดูแลจากบุคลากรและเครือข่ายบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้ารับการประชุมจะได้นำแนวทางความรู้และทักษะไปใช้ เพื่อพัฒนางานบริการสาขาจักษุให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

งานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับเครือข่ายออกตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

งานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาสารคาม ร่วมกับเครือข่ายออกตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักด์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม มอบหมายให้ ภญ.ปริญา ถมอุดทา เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม และทีมนักวิชาการสาธารณสุข ออกตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูลักลอบนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองมหาสารคาม และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองมหาสารคาม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและคุ้มครองผู้บริโภคในเขตพื้นที่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยนั้น เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต เลขสารบบอาหาร และแสดงฉลากไม่เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค
จากการดำเนินงานตรวจร้านค้าปลีกและค้าส่งในตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม รวมทั้งหมด 11 แห่ง ไม่พบผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูลักลอบนำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำหน่ายในเขตพื้นที่โรงพยาบาลมหาสารคาม และตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการเพื่อเฝ้าระวังดังกล่าวแล้ว
อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน และ ผลไม้
อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน และ ข้อความพูดว่า "Y.Chairat"
อาจเป็นรูปภาพของ ลำไย
อาจเป็นรูปภาพของ แครกเกอร์ และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ ปลาวุ้น Lutefisk
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 13 คน และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คนอาจเป็นรูปภาพของ 7 คน และ ข้อความ
อาจเป็นรูปภาพของ 11 คน, โรงพยาบาล และ ข้อความ

รพ.มหาสารคาม ประชุมวิชาการ” Mahasarakham Update for The Great Surgery : MUGS ครั้งที่ 2

(4-8-2566) โดย นายแพทย์ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ ” Mahasarakham Update for The Great Surgery: MUGS ครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดยกลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาสารคาม และเครือข่าย เพื่อเพิ่มในการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการได้อย่างครบวงจร ลดอัตราการเสียชีวิต และเพิ่ม Disease Free Survival ของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการรักษามะเร็งทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ ได้แบบไร้รอยต่อ ตามนโยบายการพัฒนา Service Plan สาขามะเร็ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็น Excellence Center ภายในปี พ.ศ.2570 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รพ.มหาสารคาม ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566
คุณวไลพร ปักเคระกา รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาสารคาม พร้อมคณะบุคลากร ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกร โดยมีนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี ณ วัดมหาชัยพระอารามหลวง ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม

โรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดหอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู

โรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดหอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู  พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดบริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

 

(26-8-2566)  นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู

โดยจัดตั้งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดบริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เชื่อมโยงการ

จัดบริการของสถานบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทูติยภูมิ ตติยภูมิ ซึ่ง หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู สามารถรองรับผู้ป่วย ระยะกลางได้ 6 เตียงมีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โดยทีมสหวิชาชีพครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วย Stroke, Traumatic braininjury, Spinal cord injury และ Fracture Hip (Fragility fracture) มี บุคลากรที่ปฏิบัติงานประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 3 คน พยาบาล วิชาชีพ 7 คน และพนักงานช่วยเหลือคนไข้ 1คน ที่ให้การดูแลผู้ป่วยอย่าง ใกล้ชิดตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย Intermediate ward

 

นายแพทย์ภาคภูมิ  มโนสิทธิศักดิ์  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า  กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งรับผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤตมาดูแลเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพของโรงพยาบาลโดยเน้นการจัดบริการ  ใน 4 กลุ่มโรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองการบาดเจ็บทางไขสันหลัง และภาวะกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง โรงพยาบาลทุกระดับล้วนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลางร่วมกัน การออกแบบระบบบริการที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการในระยะฟื้นฟูสภาพอันจะนำมาซึ่งการลดอัตราความพิการของผู้ป่วย และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

โรงงานผลิตยาสมุนไพร

ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เยี่ยมชมโรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี 

ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เยี่ยมชมโรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี 

 

  นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 พร้อมคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี ซึ่งดำเนินงานโดยโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีเป้าหมายเป็นโรงงานผลิตยาสมุนไพรที่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และมีกำลังการผลิตที่สามารถตอบโจทย์ด้านปริมาณและรายการยาสมุนไพรที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของหน่วยบริการสุขภาพภายในจังหวัดมหาสารคามได้อย่างเพียงพอ และเป็นแหล่งผลิตยาสมุนไพรที่สำคัญของเขตบริการสุขภาพที่ 7 โดยมีนายแพทย์ประเสริฐ ศรีสารคาม รองผู้อำนวยการฝ่ายกาารแพทย์แพทย์หญิงจรัญญา จุฬารี รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาสารคาม แพทย์หญิงพัชราพร ชมภูคำ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาสารคาม เภสัชกรอดิศักดิ์ ถมอุดทา หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมคณะบุคลากรโรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี ร่วมกันต้อนรับและพาเยี่ยมชมสถานที่และชมกระบวนการผลิตยาสมุนไพร

ปัจจุบันโรงงานผลิตยาสมุนไพรจัมปาศรี โรงพยาบาลมหาสารคามแห่งนี้ ได้ผลิตยาสมุนไพรไทยด้วยมาตรฐานขั้นสูง จนผ่านมาตรฐาน WHO-GMP ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้เป้นอย่างดี

 

รพ.มหาสารคาม ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์วัน VCT Day (รณรงค์ตรวจเอชไอวี)

รพ.มหาสารคาม ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม จัดกิจกรรมรณรงค์วัน VCT Day (รณรงค์ตรวจเอชไอวี)

พญ.จรัญญา จุฬารี รองปฐมภูมิ มอบหมายให้ นางเกศมุกดา ไตรรัตน์ หัวหน้างานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รณรงค์วัน VCT Day (วันรณรงค์ตรวจเอชไอวี) ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม จำนวน 500 คน โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ด้านเพศศึกษา กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้รักปลอดภัย และการตรวจเลือดเพื่อค้นหาเชื้อ HIV เป็นต้น